ค้นหาจินตนาการในวันเวลา-พ่อ แม่ พี่น้อง ญาติสนิท มิตรสหาย เพื่อนร่วมชาติ

ค้นหาจินตนาการในวันเวลา-พ่อ แม่ พี่น้อง ญาติสนิท มิตรสหาย เพื่อนร่วมชาติ
จาก11 พฤษภาคม creative working environment  http://boycyberpunk.spaces.live.com/blog/cns!6BEEAA52AFE8BA3D!1936.entry
03 มิถุนายน
ประสบการณ์ทางจินตนาการ-creative economy-ทางเลือก
http://boycyberpunk.spaces.live.com/blog/cns!6BEEAA52AFE8BA3D!2013.entry
เสียงการเดินทางในชีวิตประจำวัน 24 ชม.
http://boycyberpunk.spaces.live.com/blog/cns!6BEEAA52AFE8BA3D!2098.entry
———————————————————————————————–
หลายวันก่อน เพื่อนของผม ก็โทรมาหาผมก่อนนอน ซึ่งเจตน์ โทรมาเล่าเรื่องมาเก๊า แล้วเพื่อนเรียกผมว่า แว่น ตามฉายาสมัยม.ปลาย ซึ่งหลายวันมานี้ มีคนแต่งงานไปเยอะมาก
ทั้งนายแจน โทรมาหาผม และเพื่อนเอี่ยว น็อต และงานแต่งฯของเพื่อนหลวง,โก้ ส่วนงานนิทรรศการของเพื่อนผมก็ไป งานอาร์ตของหมี่ ซึ่งเจออ๋อง,โอฬาร,ยิ้ม ฯลฯ ขอเล่าสั้นๆ
ละกัน ก่อนนอน
Species of Spaces
Georges Perec 
The Bed
‘นามมาแล้วที่ผมเข้านอนด้วยการเขียน’
ปาร์แซล มรูสต์*
1
โดยทั่วไปเราใช้ประโยชน์จากหน้ากระดาษบนพื้นที่ส่วนใหญ่ในด้านสองมิติของมัน เช่นเดียวกันกับเตียงนอน (หรือคุณอยากจะเรียกว่าหน้ากระดาษ) เตียงมีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีด้านยาวมากกว่ากว้าง และเป็นที่ซึ่งเรามักจะนอนลงตามทางยาว เราพบเตียง’อิตาเลียน’ ได้ในเทพนิยาย (
ยกตัวอย่าง นิทานทอม ธัมกับหมู่พี่น้อง หรือลูกสาวทั้งเจ็ดแห่งตระกูลยักษ์) หรือปรากฏในเหตุการณ์วิปลาสที่มีสภาวะรุนแรงร่วมกัน (การตายหมู่ของผู้คน หรือภายหลังการโจมตีทิ้งระเบิด เป็นต้น) แม้ว่าส่วนใหญ่เราจะใช้ประโยชน์จากเตียงนอนในทางปรกติตรงกันข้าม แต่มันเป็น
สัญญาณของความหายนะกรณีที่มีมนุษย์หลายคนนอนอยู่ในเตียงเดียวกัน เตียงนอนเป็นเครื่องมือนึกฝันถึงการพักผ่อนนอนอิงในยามกลางคืนของคนหนึ่งคนหรือสองคน แต่ไม่มากไปกว่านั้น
ดังนั้นเตียงนอนจึงเป็นพื้นที่ส่วนตัวโดยสมบูรณ์ของแต่ละบุคคล เป็นปฐมบทพอเหมาะแก่สัดส่วนของร่างกาย เป็นสิ่งที่คนโซโทรมทรุดด้วยหนี้สินยังมีสิทธิ์จะเก็บเตียงของเขาไว้ เพราะนายปลัดไม่มีอำนาจในการจับเตียงของคุณ ในทางปฏิบัติง่ายๆ นี้หมายความว่าเรามีเตียงได้คนละหนึ่ง
เตียงซึ่งเป็นเตียงของเรา เท่านั้น ถ้ามีเตียงอื่นในบ้านหรือในอพาร์ทเมนต์อีก นั่นคือเตียงของแขกหรือเตียงสำรอง ว่ากันว่าเรามักจะเข้าภวังค์หลับใหลบนเตียงนอนของเราเสมอ
2
‘เตียง = เกาะ’
มิเชล เลอริส
ผมนอนคว่ำลงบนเตียงตอนที่อ่าน Twenty Years After, The Mysterious Island กับ Jerry on the Island เตียงเลยกลายเป็นห้องนอนเล็กในเรือของคนดักสัตว์ หรือเป็นเรือช่วยชีวิตท่ามกลางพายุร้ายแห่งท้องทะเล เป็นต้นบาวแบ๊บที่โดนเผาผลาญด้วยเพลิงร้อน เป็นกระโจม
ผ้าใบตั้งเด่นกลางทะเลทราย เป็นรอยแยกโสภาของหินผาที่ศัตรูของผมเดินผ่านในคืบศอกอันคับแคบ
ผมได้ท่องเที่ยวมากมายที่ใต้ท้องเตียง เพื่อความอยู่รอด ผมจึงเก็บน้ำตาลก้อนที่ขโมยมาจากห้องครัวและซ่อนมันไว้ในหมอนรอง (พวกมันส่งเสียงขีดข่วน…) ความตื่นตระหนกเกิดขึ้นได้เสมอแม้ว่าจะอยู่ภายใต้การคุ้มครองของผ้าห่มและหมอน
เตียงนอน ที่ที่ภยันตรายไร้รูปแบบพร้อมเยี่ยมเยือน สถานที่แห่งการต่อต้าน พื้นที่สำหรับร่างกายอันโดดเดี่ยวถ่วงไว้ในซากของความไม่จีรัง การยึดพื้นที่ครอบงำโดยความปรารถนา สถานที่ที่ไม่น่าเป็นไปได้ที่ผมจะมีรากลึกฝังอยู่ พื้นที่แห่งความฝันและความโหยหาคิดถึงอิดิปุส
ความสุขจงมีแด่ผู้หลับใหลที่ปราศจากความกริ่งเกรง ไร้ความสำนึกผิดขื่นขม
บนเตียงบิดาที่ยิ่งใหญ่ ควรคำรพ
ที่ๆ ญาติพี่น้องของเขาได้เกิดและตาย
โจเซ – มาเรีย เดอ เฮเรเดีย โทรฟีส
3
ผมชอบเตียงของผม ผมได้มันมาประมาณสองปีเศษ ก่อนหน้านั้นมันเป็นของผู้หญิงที่เป็นเพื่อนผม เธอย้ายไปอยู่อพาร์ทเมนต์เล็กมากแห่งหนึ่ง เล็กเสียจนเตียงสี่เหลี่ยมธรรมดา ไม่สามารถอัดตัวเข้าไปในห้องที่เพิ่งเช่าได้ เธอเลยเอาเตียงนั้นมาแลกกับเตียงที่ผมมีอยู่ ซึ่งเตียงนี้มันแคบมาก (
วันหนึ่งผมจะเขียน -ดูบทต่อไป- ประวัติศาสตร์สิ่งของชนิดอื่นที่นอกเหนือจากเตียงผม)
ผมชอบเตียงของผม ผมชอบเหยียดตัวนอนลงบนเตียงและจ้องมองฝ้าเพดานด้วยสายตาสงบเสงี่ยม ผมยินดีจะอุทิศเวลาส่วนใหญ่กับกิจกรรมอันนี้ (โดยเฉพาะในยามเช้า) ถ้าผมไม่ถูกขัดขวางด้วยเหตุฉุกเฉินบางประการ (เป็นสิ่งน่ารำคาญถ้าแจงรายการออกมา) ผมชอบฝ้าเพดาน ชอบ
ความผุพังและรอยปูดของฝ้า มันดลใจผมแทนเทพยดาทั้งหลาย และรอยประณีตประดับประดาในงานปูนฉาบทำให้ผมรู้สึกเหมือนอยู่ในเขาวงกตชักใยโดยปีศาจแห่งความฝัน ความคิดและถ้อยคำ แต่ไม่มีใครให้ความสนใจกับฝ้าเพดานมากนัก มันถูกสร้างให้มีด้านเป็นเส้นตรงแลท้อแท้
ร้ายไปกว่านั้นบางทีสร้างโดยมีคานทะลวงโผล่มา
แผ่นกระดานแผ่นใหญ่ทำหน้าที่เป็นชั้นหัวเตียง นอกจากอาหาร(ผมไม่ค่อยหิวเวลาอยู่บนเตียง) ในนั้นจะเก็บทุกสิ่งที่ผมขาดไม่ได้ ทั้งที่ดูจำเป็นและไม่จำเป็น ดังเช่น ขวดน้ำแร่ แก้วน้ำ กรรไกรตัดเล็บคู่หนึ่ง (สำหรับเลาะเล็บ) ชุดเกมส์ปริศนาอักษรไขว้ของโรแบรต์ ซีปีออง (ผมขอใช้
โอกาสตำหนิเขาเล็กน้อย ช่องลำดับที่ 43 เขาให้ความหมายโดยนัยจะต้องเป็นคำว่า neanmoins ด้วยอักษร ms สองตัว นั่นหมายความว่าอักษรไขว้ในอีกแนวหนึ่งต้องเป็นคำผิด (เพราะเขียนคำ assomnoir ให้สอดคล้องไม่ได้) ผลของปริศนาจึงยากจะแก้) ซองกระดาษทิชชู่หนึ่งซอง
แปรงแข็งสำหรับแปรงขนแมว(ตัวเมีย)ให้มันเลื่อมซึ่งเป็นสิ่งที่ผมชอบ โทรศัพท์ สิ่งนี้ต้องขอบคุณที่ทำให้ผมสามารถเล่าให้เพื่อนฟังถึงสุขภาพของตัวเองว่าเป็นอย่างไร และยังบอกกล่าวแก่คนอื่นที่โทรมาอีกด้วยว่าบ้านผมไม่ใช่เบอร์ของบริษัทมิชลิน วิทยุบรรเลงทั้งวันกรณีที่ผมมีอารมณ์
สุนทรีย์ เพลงหลากหลายแนวโปรยปรายสลับกับข่าวจราจรเบาๆ หนังสือวางเป็นโหล (เล่มที่ผมตั้งใจจะอ่านและยังไม่ได้อ่าน และเล่มที่ผมชอบอ่านซ้ำอยู่เสมอ) อัลบั้มของการ์ตูนช่อง กองหนังสือพิมพ์ เครื่องชุดสูบบุหรี่ ไดอารี่หลายฉบับ สมุดเก็บข้อความ หนังสือออกกำลังกาย และสมุด
กระดาษฉีก นาฬิกาปลุก หลอดยาอัลคา-เซลเซอร์(ว่างเปล่า) ขวดยาแอสไพริน(เหลือครึ่งขวด หรือคุณจะคิดว่าไม่เหลือเลยก็ได้) ยาซีควีนิล(ยาแก้หวัด ไม่เคยแตะ) คบไฟ และอีกหลายอย่างที่ผมละเลยจะโยนทิ้ง จดหมาย ปากกาด้ามสักหลาด ปากกาลูกลื่น(ทั้งสองหมึกหมด) ดินสอ ที่เหลา
ดินสอ ยางลบ(สามสิ่งนี้เอาไว้แก้ปริศนาที่กล่าวข้างต้น) กรวดหินที่เก็บมาจากทะเล ปึกกระดาษบันทึกเล่มเล็ก และปฏิทินของที่ทำการไปรษณีย์
4
สิ่งซ้ำซากอื่นอื่น
เราใช้เวลามากกว่าสามส่วนในชีวิตกับการนอนบนเตียง
เตียงนอนเป็นสถานที่ที่แปลกที่ทำให้เราหัดท่าให้อยู่ในแนวนอน แต่ยังมีสิ่งอื่นที่มีการใช้งานเฉพาะเจาะจงกว่า เช่น โต๊ะทำงาน ม้านั่งในห้องซาวน่า โซฟาเชส เลาจน์ พื้นหาดทราย เก้าอี้ในห้องจิตแพทย์…
เทคนิคเรื่องการนอน แนวความคิดการล้มตัวลงนอนเป็นสิ่งผิดพลาดโดยธรรมชาติ (อ่านเพิ่มเติม มาร์เซล มอส ‘กลยุทธของร่างกาย’ ในหนังสือ Sociologie et Anthropologie หน้า 378 ย่อหน้าทั้งหมดนั้น-เป็นการสรุปเอง อนิจจา-ยังสมควรแก่การอ้างอิง)
แล้วประโยชน์ของเปลญวนเล่า ยังมีโครงเตียง เตียงกล่อง ที่นั่งยาวลึกเหมือนหลุมศพ เสื่อฟาง ที่นอนบนรถไฟ เตียงแคมป์ แล้วยังถุงนอนที่ผูกกับเสายึดผืนพรมของโลกอีกทีเล่า
หมายเหตุจากผู้เขียน* ประโยคนี้เป็นการเล่นคำและชื่อของผู้ประพันธ์นำมาจากหนังสือ A la recherche du temps perdu ของมาร์แซล พรูสต์ ประโยคแรกในหนังสือเล่มนั้นเขียนว่า "For a long time I went to bed early.
  ลองแปลและเรียบเรียงก่อนนอนโดย O
The Bed เป็นหนึ่งในความเรียงตอนหนึ่งจากเรื่อง Species of Spaces ที่จอร์จ เปเรคเขียนไว้ในปี 1974 เปเรคเล่าถึงพื้นที่ ตั้งแต่หน้ากระดาษ เตียงนอน ห้องนอน เรื่อยไปจนถนนหนทาง ประเทศ ทวีป โลกจนออกนอกอวกาศในบทสุดท้าย ครอบครัวของเปเรคเป็นชาวยิวในโปแลนด์ซึ่งหนีสงครามกวาดล้างชาวยิวมาอยู่ในฝรั่งเศส แต่ครอบครัวก็ต้องระเหเร่ร่อนต่อ แม่ของเขาถูกส่งกลับเมือง Auschwitz และจบชีวิตลงในค่ายกักกัน เปเรคนำเรื่องราวของเขามาเขียนนิยายกึ่งอัตชีวประวัติในหนังสือ W or the Memory of Childhood (1975) เล่าเรื่องวัยเด็กคู่ขนานกับนิทานโหดร้ายของหมู่บ้านโอลิมปิคซึ่งถูกนำมาเปรียบเทียบกับชีวิตของชาวยิวในค่ายกักกัน เปอเรคมีผลงานหลายเล่มเช่น Things, A Man Asleep, A Void, 53 Days เล่มที่ตรึงใจคนอ่านที่สุดคือ Life a User’s Manual เปเรคเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งที่กรุงปารีสในปี 1982 ตอนที่เขามีอายุได้ 46 ปี อิตาโล คาลวิโนกล่าวถึงเปอเรคไว้ว่า "One of the most significant literary personalities in the world." ตัวหนังสือเขาจับใจอย่างไร มีโอกาสจะมาเล่าต่อครับ
Species of Spaces and Other Pieces:Georges Perec, translated byJohn Storrock
ISBN : 0140189866 Penguin Classics 304 pages, £10.99
ยังกล่าวถึงเพื่อนบ้าน คือ Neighbourhood
ผมขอเล่าถึงงานคอลัมภ์ท่องเที่ยวของผมว่า…ขณะไปเที่ยวในวัดศรีษะเกศ ผมก็บังเอิญเจอไกด์สาว ซึ่งเธอถามว่าอยากจ้างเธอให้นำทาง หรือเปล่า แต่ผมก็ไม่ได้จ้างเธอ โดยเหตุผลง่ายๆ เราไม่ได้พูดออกไปเพียงแค่คิดในใจว่า เราไม่มีเงิน น่ะครับ ซึ่งผมเห็นเธอคุยกับเพื่อนของเธอ ทำให้ผมก็ได้ยินแว่วๆ เหมือนกับจำได้ราวกับว่า ไกด์สาวคนนั้น ถูกเพื่อนแซวเล่นๆจากคนขายของหน้าวัดว่า เธออาจจะเหมือนกับภาพยนตร์สะบายดีหลวงพะบาง เผื่อว่าจะได้มีความรักกับหนุ่มไทย ซึ่งภาพยนตร์ดังกล่าว ก็เป็นความร่วมมือในการสร้างภาพยนตร์ของคนไทยกับคนลาว แต่ว่าผมกับพบเรื่องน่าสังเกตต่อมา ในวัดศรีษะเกศ เมื่อคนขายของที่เป็นผู้ชาย ซึ่งเขาพยายามขายของ และก็เขาพูดกับพวกผม ว่า “ไทยกับลาว เป็นพี่น้องกัน…”  ทั้งที่ในความเป็นจริงจากข้อมูลว่า บางครั้งประเทศลาว ก็ยืนยันอยากมีฐานะเป็นเพื่อนมากกว่าพี่น้อง เพราะเราจะเท่าเทียมกัน
มันเป็นช่วงสถานการณ์ของกระแสข่าวความขัดแย้งไทยกับกัมพูชา ในเรื่องปราสาทเขาพระวิหาร จากปี2551 ในความทรงจำของผม ซึ่งมันมีเรื่องสนุกสนาน และน่าตื่นเต้น ตื่นตา ตื่นใจ ในช่วงยามค่ำคืนของผม ขณะผมเดินโดดเดี่ยวเดียวเพียงลำพัง…
…โดยผมโอกาสเหมาะเยือนหอสมุดแห่งชาติของลาว ซึ่งมันเป็นอาคารยุคโคโลเนียล และห้องสมุด เป็นพื้นที่หลักของการอ่านหนังสือ ที่มีคุณค่าและความหมายของการสัมผัสตัวหนังสือ ที่มีประโยคของตัวอักษรลาว และตัวอักษรภาษาอังกฤษ ซึ่งการสร้างเรื่องราวของการเดินทางของผม
ในที่ว่างและเวลาของสมองตัวเอง ก็เปิดความทรงจำตัวเอง โดยค้นหาในช่องว่างทางความคิด ว่าจะทำให้เกิดความสร้างสรรค์ให้หน้ากระดาษว่างเปล่า กลายเป็นปรากฏตัวอักษรเติมเต็มในเรื่องเล่า ก็เหมือนห้องว่าง ที่มีหนังสือเข้าไปอยู่ในห้อง มันก็เติมหนังสือเต็มห้อง จากห้องหนังสือ
กลายเป็นห้องสมุด แล้วจนถึงกลายเป็นหอสมุด(หนังสือ) โดยหนังสือก็เป็นอาหารตา อาหารสมอง อาหารใจ ให้กับนักอ่าน โดยหอสมุดแห่งชาติ ก็ทำให้ผมสนใจค้นหาการตามหาหนังสือเก่าๆ หายากต่างๆ ซึ่งหากพิจารณาตามชั้นหนังสือ และคนที่มีมุมมองต่อการอ่านหนังสือในหอสมุด
จึงมีหลากหลายทัศนะนำเสนอเกี่ยวกับหนังสือ ต่อคนอ่าน ว่าด้วยหนังสือ ที่มีประโยชน์อย่างกับการนำความรู้ไปขายให้เป็นเงินตรา ภายใต้กรอบของความคิดของผู้ซื้อสินค้า ซึ่งมันเห็นได้ชัดอย่างหนังสือ How to เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน และส่วนกรณีหนังสือคู่มือท่องเที่ยว ซึ่งมันก็มีคุณ
ค่าและความหมายต่อทุกคน ในการเดินทาง และมันก็มีไว้ในหอสมุดแห่งชาติของลาว ซึ่งหนังสือ นั้น ไม่เพียงเราเลือกหนังสือ แต่ว่า หนังสือนั้น เป็นสิ่งลี้ลับที่หนังสืออาจจะเลือกให้เราอ่านก็ได้ โดยผมเคยได้รับฟังประโยคดังกล่าวจากรุ่นพี่ สะท้อนโลกของนักอ่าน และผมก็ใช้เวลาสำรวจ
ค้นหาหนังสือ ผ่านสายตาของผม ในภาวะแห่งความเงียบของการใช้หอสมุดแห่งชาติของลาว ที่มีหนังสือเป็นเพื่อน
 
จากประเทศเพื่อนบ้าน เรามาทบทวนเรื่องความเข้าใจของผู้อ่าน โดยการอ่านเกี่ยวกับอ่านผลงานของนักทฤษฎีดนตรี-สังคมของเยอรมัน ชื่อว่า อดอร์โน ที่ต้องการเข้าใจอดอร์โนในระดับเดียวกับอดร์โนจะอ่านงานของเขารู้เรื่อง จากนิตยสารวิภาษา เช่นเดียวกับงานเขียนวิชาการสัญจร(ครม.สัญจร)ของไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร เขียนแนวสารคดีวิชาการ ก็เล่าเรื่องการเดินทางไปทำงานวิชาการสิงค์โปร์ และนักวิชาการลำบาก เวลาลาออกจากอาจารย์ไปขายหนังสือแบกะดิน เช่น ชุมพร สังขปรีชา(ผมมีหนังสือที่เขาเขียนด้วย) และงานเขียนแนวสารคดีวิชาการ ของไชยรัตน์ ก็มีคนบอกว่าอ่านง่าย ซึ่งไชยรัตน์ ก็อ้างDerrida ผู้เป็นเจ้าของแนวDeconstructionว่า คนอ่านของเขาต้องมี Pre-understanding คือ พื้นฐานความเข้าใจเรื่องที่เขาเขียนหนังสือไว้ให้คนอ่าน  
จริงๆ แล้วภาษาไทย ก็ควรถูกDeconstruction ได้ เช่น หนังสือเรื่องความคิดและภูมิปัญญาไทย คำ ร่องรอยความคิด ความเชื่อไทย
 ผลงานของสุวรรณา สถาอานันท์, เนื่องน้อย บุณยเนตร (บก.)“ความคิดและภูมิปัญญาไทย คำ ร่องรอยความคิด ความเชื่อไทย” กรุงเทพฯ : สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
คำ ซึ่งแสดงร่องรอยความคิดความเชื่อไทยที่สำคัญ เช่น “ที่พึ่ง” “บุญคุณ” “กรรม” “ศักดิ์ศรี-หน้าตา”
“ผู้ใหญ่- ผู้น้อย” “ผู้ดี” “สนุก” “เล่น” ต่างโลดแล่น ท้าทายความคิดวิเคราะห์ของผู้อ่านอย่างน่าสนใจยิ่ง
คำว่า ครอบครัว ก็เหมือนกัน มันเป็นการนับญาติของคนไทย เพราะระบบญาติขยายวงศ์ ทำให้มันเป็นเหตุใช้ศัพท์ทางญาติ กับคนที่ไม่เป็นญาติแพร่หลายทั่วไป ซึ่งมันเป็นผลดีแก่ผู้ใช้ศัพท์เรียกผู้อื่นว่า “…ลุง พี่ น้อง ทำให้ผู้ถูกเรียกรู้สึกความสัมพันธ์ใกล้ชิดสนิทสนม และส่วนความเป็นมาของการพยายามเรียกผู้อื่นให้ใช้คำว่า “ท่าน” ก็มีในสมัยจอมพล ป.พยายามให้เกิดความเป็นอารยะเยี่ยงชาติตะวันตก โดยส่วนใหญ่แล้วก็นิยมใช้คำว่า ท่าน หรือ คุณเป็นภาษาทางการมากกว่าในชีวิตประจำวัน ที่มีการใช้ศัพท์เรียกว่าพี่ น้อง”(4) นั่นก็คือ มันก็ไม่ประสบความสำเร็จการใช้คำศัพท์เหมือนกับคำว่าสวัสดี ที่มีใช้ในชีวิตประจำวันถึงปัจจุบัน โดยสนิท สมัครการเขียนถึงคำว่า"พี่น้อง"กล่าวถึงเรื่องพี่น้อง เป็นการนับญาติ ยกตัวอย่างในชีวิตประจำวัน เรียกกระเป๋ารถเมล์ว่า พี่ ต่างๆ และสนิท ก็วิเคราะห์เรื่องพี่น้อง  ไม่มีเงินเรียกน้อง มีทองเรียกพี่ ไม่มีเงินไม่นับพี่นับน้อง และการพูดถึงคำว่า ไทยจีนพี่น้องกัน และเพื่อนบ้าน
นอกจากหนังสือแล้ว คำว่า จ๊ะ ครับ ค่ะ สวัสดีครับ ต่างๆ และคำไทยต่อมา "แม่" เป็นคำไทย หมายถึง ผู้มีพระคุณ ผู้ให้กำเนิด ให้น้ำนมลูกดื่มกิน ให้ความรักความเมตตาและปกป้องดูแลลูกจนเติบใหญ่ คำว่า “แม่”  ถูกนำมาใช้ร่วมกับคำอื่นๆในภาษาไทย  โดยอิงจาก ความเป็นแม่ผสมกับความเป็นผู้หญิง คือ
(ที่มา http://www.thai-language.com/)
จะเห็นว่ามีการเรียกสิ่งที่มีตามธรรมชาติว่า "แม่" ด้วย คุณนึกแปลกใจบ้างไหม ว่าเพราะอะไร?
นั่นเพราะ สังคมไทยแต่ก่อน เป็นสังคมเกษตรกรรม ฟ้า น้ำ และ ดิน โอบอุ้มชีวิตพวกเขามาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ ความรู้สึกที่มีต่อธรรมชาติคือ ยกย่องเทิดทูน ในฐานะผู้ให้กำเนิดและหล่อเลี้ยงชีวิต เหมือนที่เขารู้สึกกับแม่ ที่ให้กำเนิดตัวตนของเขามา  ทำให้มีการใช้คำว่าแม่ เรียกสิ่งดีงาม
ตามธรรมชาติด้วย เช่น แม่น้ำ แม่โพสพ แม่ธรณี  เป็นต้น
แม่น้ำ – น้ำเมื่อไหลไปยังที่ใด ก็ทำให้ที่แห่งนั้นเกิดชีวิต เกิดความชื่นฉ่ำ ชุ่มเย็น หล่อเลี้ยงชีวิต
แม่ธรณี –  ดินเป็นแหล่งเพาะปลูกอาหารสำหรับมนุษย์ มีพืชมากมายงอกขึ้นมาจากดินให้มนุษย์กินไม่รู้จักหมดสิ้น  
คนไทย จะเรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า "แม่"
ภาษาอังกฤษ จะเรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า "มาเธอร์ (Mother)" หรือ "มัม (Mom)"
ภาษาสันสกฤต จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มารดา"
ภาษาบาลี จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มาตา"
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88
 

ดูข้อมูลผลงานของเดือนตุลา-ต้นพฤศจิกายน
สัมภาษณ์ไชยันต์ รัชชกูล: ระลึกถึงลุงนวมทอง และ 3 ปี 19 กันยา
http://www.prachatai.com/journal/2009/10/26405
พูดคุยเรื่องหนังสือกับฉัตรทิพย์และจรรยา นาถสุภา
http://www.prachatai.com/journal/2009/10/26361
ระลึกถึงลุงนวมทอง ไพรวัลย์ ในฐานะญาติร่วมชาติไทยในเดือนตุลาคม
http://www.prachatai.com/journal/2009/10/26334
แรงงานข้ามชาติจากพม่ายังไม่มั่นใจกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ
http://www.prachatai.com/journal/2009/11/26531
ฮุน เซน-ทักษิณ: เพื่อนบ้านไร้พรมแดน
http://www.prachatai.com/journal/2009/11/26436

วันที่ 3 พฤศจิกายน
หลายวันมาแล้ว ผมพบกับอาจารย์หลายคน และผมได้รับโทรศัพท์จากอาจารย์ พูดคุยเรื่องงานวิชาการ ซึ่งผมบอกไม่ได้เป็นSecret Symbolของผม
เดือนตุลา ที่ผ่านมา ซึ่งผมไปออกรายการวิทยุพูดเรื่อง 14 ตุลา ทำให้ผมนึกถึงเรื่องความเป็นเพื่อนของคนเดือนตุลา ฯลฯ เช่น คำกล่าวว่า 14 ตุลาตายแล้ว โดยสุชาติ สวัสดิศรี มันเป็นความแตกต่างจากยุคในอดีตของยุคสายลมแสงแดด และเมื่อสายลมเปลี่ยนทิศจากยุคสมัยของอดีต ที่มีนักศึกษาเดินทางเข้าป่ายุค 14 ตุลาคม  2516 เกี่ยวข้องขบวนการของนักศึกษา ในภาพยนตร์ 14 ตุลา สงครามประชาชน โดยเรื่องราวของคู่รักแบบเดียวกับพระเอก นางเอก ก็เข้าป่าข้ามพรมแดนไทยไปลาว และพวกเขา ร่วมกับสหายต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ ซึ่งบทสัมภาษณ์เรื่องภาพยนตร์ โดยชูวัส ฤกษ์ศิริกุล "สัมภาษณ์ เสกสรรค์เรื่องคนล่าจันทร์ในเนชั่นสุดสัปดาห์ (22-28 ต.ค.2544 :40-93)

จากกาลเวลา น่าจะเป็นตัวพิสูจน์ว่า วุฒิภาวะ คุณวุฒิ  มากขึ้น แต่ความเป็นเพื่อน ก็แตกสลายของคนเดือนตุลา ภายใต้สัมพันธภาพทางอำนาจเรื่องประชาธิปไตยในหมู่เพื่อนกันเอง

จริงๆ ส่วนตัวของผมอยากไปดูทะเลสวยๆ กับเพื่อนๆ มากกว่าเข้าป่าไปแสวงหาประชาธิปไตย น่ะครับ

การมีเพื่อนแท้ ย่อมเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกของเรา และเพื่อนแท้จริง ยิ่งกว่านั้น เพื่อนผู้นั้นเข้าใจ เหตุผล อารมณ์ฯลฯ ทั้งหมดของเพื่อนมากกว่าตัวเราเอง (หรือมากกว่าตัวของผมเอง)

เรื่องของปลอม น่าสนใจจากนิตยสารอ่าน ฉบับที่สอง
10.ปลอมทฤษฎี วารสารด้านวัฒนธรรมศึกษา ชื่อ social text ถูกนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เขียนเกี่ยวกับแนวคิดรื้อสร้าง โดยใช้ทฤษฎีดังกล่าวอธิบายควอมตัน แล้วปี1996 ซึ่งโซกัล(alan sokal) ก็แฉว่าผลงานชิ้นที่เขียนบทความดังกล่าวนั้น เขาเขียนให้เนื้อหามั่วๆ หลอกๆ เต็มไปด้วยศัพท์แสงทางวิทยาศาสตร์ที่คลาดเคลื่อน ซึ่งโซกัล อ้างว่าเขาต้องการทดสอบมาตรฐานทางวิชาการของวารสารในด้านนี้ กรณี Sokal Hoax ในวารสารฉบับ Science War

9.ปลอมความทรงจำจาก Frafment:Memoires of a childhood ซี่งความทรงจำจากประสบการณ์ฆ๋าล้างเผ่าพันธุ์ของbinjamin wilkomirski

8.ปลอมท่านผู้นำ เรื่องบันทึกของฮิตเลอร์

7.ปลอมชีวประวัติคนดัง Howard Hughes

6.ปลอมชีวิต  The Education of little tree

5.ปลอมบทละครของเช็คสเยร์ เรื่อง vortigern and rowena

4.ปลอมแผนรัาย เรื่องร่างข้อตกลงของกลุ่มผู้อาวุโสแห่งไซออน พูดถึงชาวยิว และองค์กรลับต้องการครองโลก

3.ปลอมอดีต เรื่องกวี ) Ossian ศตวรรษที่สิบแปด(ชาตินิยมแก่สกอตและไอรแลนด์)

2. ปลอมกวี โทมัส แชทเทอร์ตัน -ศตวรรษที่ 18(กวีอายุน้อยแต่งบทกวีเลียนแบบกวีในอดีต)

1.ปลอมเอกสารมอบอำนาจของจักรพรรดิคอนสแตนติน ศตวรรษที่แปด

ไทย
1.ศิลาจารึก
2.ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
3.กำสรวลศรีปราชญ์
4. กศร กุหลาบ

หนังสือเรื่อง The Quest for  Proust กล่าวถึงเรื่องโรคทางเดินหายใจของพรูซต์ ซึ่งทำให้เขาสร้างผลงานจากสิ่งแวดล้อม แพทย์ เพื่อน แม่ ซี่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ของทฤษฎีการเขียนของเขา โดยพรูสต์พิสูจน์ความเป็นอยู่ของชีวิตตัวเอง

…โดยชีวิตส่วนตัวของผม จากที่เขียนในคอลัมภ์นิตยสารVote ผมพบหญิงสาวลาว ว่า เธอพยายามชวนผมไปดูทะเล ผมก็อดตีความไม่ได้ และเธอ ก็เหมือนอยากหาคู่…แต่ขีดจำกัดของการตีความ ถ้าไม่มีหลักฐาน และการพิสูจน์ มันก็แย่เหมือนกัน ถ้าดูจากบทความของ ธเนศ วงศ์ยานนาวา เรื่องอาณาเขตสาธารณะ/ประชาสังคมและนักมานุษยวิทยากับคนชายขอบ ซึ่งวิจารณ์ขีดจำกัดผลงานวิทยานิพนธ์ของโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ สะท้อนเรื่องขีดจำกัด และอ้างอิงผลงานของอัมแบร์โต เอโก นักวรรณกรรมวิจารณ์อีกคนหนึ่ง ซี่งผมเคยอ่านงานเขียนเรื่องThe limits of interpretation
 โดย Umberto Eco และInterpretation and overinterpretation โดย Umberto Eco,Stefan Collini
http://books.google.co.th/books?id=H4q8ZosSvB8C&printsec=frontcover&dq=eco+limited+of+interpretation&source=gbs_similarbooks_s&cad=1#v=onepage&q=eco%20limited%20of%20interpretation&f=false

 http://books.google.co.th/books?id=kO9CGLje_qgC&dq=eco+limited+of+interpretation&printsec=frontcover&source=bn&hl=th&ei=DLvvStT1PMK9kAWNjcCOBw&sa=X&oi=book_result&ct=result&resnum=4&ved=0CBYQ6AEwAw#v=onepage&q=&f=false

 แต่ผมไม่มีเวลาเขียนและกล่าวถึงโดยรายละเอียด ในเรื่องต่างๆ ทั้ง Public Sphere จึงขออ้างธเนศ ว่า ถ้าจะก้าวเข้าไปในกรอบของารตีความ แต่การตีความนั้นไม่ได้หมายความว่าจะเป็นอะไรก็ได้ การตีความนั้นมีข้อจำกัด

เพราะผมระลึกถึงเรื่องว่า ผมอ่านหนังสือไม่แตกเหมือนบทวิจารณ์ตัวละครนพพร ในเรื่องข้างหลังภาพ ที่ไม่อาจตีความ มรว.กีรติ สื่อถึงความนัยได้ แต่ว่า ผมก็ไม่ตีความเรื่องพื้นที่ห่างไกลของผม กับหญิงสาว ต้องข้ามพรมแดนไปไม่ได้ทำงานที่เดียวกัน ฯลฯ ทั้งที่ เราสนทนากับบนรถเมล์ ระหว่างทางรถแห่งชาติสายที่ ๑๓ บนเส้นทางคดเคี้ยวเลี้ยวลด ไม่เป็นเส้นตรง อุปมา ใจเธอยากยิ่งจะเดาถูกทางๆได้

ผมไม่อาจเดาเส้นทางชีวิตของเธอ เหมือนเส้นชีวิตบนลายมือ ถ้าคิดเป็นบทนิยาย โดยนักวิจารณ์วรรณกรรม "โรล็องต์ บาร์ต" ผู้เขียนเรื่องอาหารตะวันออก ใช้ตะเกียบ ไม่ได้ใช้มีดส้อม ว่าด้วยวัฒนธรรมการใช้ตะเกียบของตะวันออก ซึ่งสื่อถึงวิธีคิด การมองโลกของตะวันออก อาหารกระจัดกระจายขนาดเล็กกว่าอาหารตะวันตกใช้ช้อนส้อม มีด ของตะวันตกที่ทิ่มแทงแตกต่างกันในทัศนะของโรล็องต์ บาร์ต วิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ ในชีวิตประจำวัน แถมยังเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับวาทกรรมความรักว่า ตัวละครของชีวิตบางคนก็ตีความเข้าข้างตัวเองว่า เธอรักเรา… และถ้าน้ำสะท้อนความเชื่อมโยงกับมนุษย์นั้น เหมือนกับต้นไม้ ถ้ามนุษย์ไม่อาจขาดการดื่มน้ำได้ ไม่เช่นนั้นก็ห่อเหี่ยวเหมือนต้นไม้ และขาดอากาศไม่ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งมนุษย์ ประดุจว่าก็ขาดรักไม่ได้ เหมือนกับน้ำ เพราะ ทุกคนดื่มน้ำให้พลังงานแก่ชีวิตประจำวัน  และคนก็ต้องการความรักแบบต้นไม้นั้น คือ คนต้องการให้ใครๆก็รักตัวเอง ตีความตัวเองผ่านกระจกมองใบหน้าของตัวเอง

โดยความสลับซับซ้อนของการตีความเข้าข้างตัวเอง ถ้ามองในทางที่ดี การตีความเข้าข้างตัวเอง มันก็ทำให้เรามีความสุขได้ น่ะ ครับ และทฤษฎีการวิจารณ์หนังของประชา สุวีรานนท์ จากที่เล่ามาต้องการความรัก เป็นสื่อบอกว่า คนเราเป็นเพื่อน ผูกพันกันโดยสายใยแห่งวันเวลา ที่มองไม่เห็นด้วยตา นั่นก็คือ คนยังต้องการเวลา สำหรับหล่อเลี้ยงน้ำใจแห่งความเป็นเพื่อนรัก….

วันที่ 5 พ.ย.
อากาศหนาวแทรกผ่านบานหน้าต่างของยามเช้า ปลุกผมให้ตื่นจากฝัน แต่มันก็ไม่ได้โรแมนติค อะไรหรอก ก็แค่ผมจะเป็นหวัด และคิดถึงน้องพิม ที่บอกผมว่าจะแต่งงานปีหน้า และโต้ง ที่โทรมาหาเพื่อนสุดเลิฟ อีกหนึ่งคนของผม ซึ่งผมนึกถึงเรื่องOne Thousand and One Nights หรือ Arabian Nights กับพรูสต์ ทีมีการอ้างอิงว่า พรูสต์ ก็อ่านเรื่องพันหนึ่งราตรี (แปลแบบไทยๆ) จริงๆ ชีวิตบางครั้งก็เหมือนฝัน หลายเรื่องๆ ในชีวิตกับการรับรู้ข่าวสาร และความเป็นจริงใกล้ตัว เช่นคนขโมยกระเป๋าตังค์ ในการอบรมต้นกล้าอาชีพ ส่วนข่าวสารเรื่องคนหลอกลวง เงินลุงที่สะสมออมเงินเป็นหนึ่งล้านบาทตลอดชีวิต จากวันลุงนวมทอง วันฮาโลวีน วันนิคมฯ ถึงวันออมทรัพย์ http://th.wikipedia.org/wiki/31_%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1

หนังสือน่าอ่าน
Margaret Kohn
Radical Space: Building the House of the People
http://www.amazon.com/Radical-Space-Building-House-People/dp/0801488605

Brave New Neighborhoods: The Privatization of Public Space
http://www.amazon.com/Brave-New-Neighborhoods-Privatization-Public/dp/0415944635/ref=pd_cp_b_1/183-2595220-2800215

Jerold Kayden, Frank Backus Williams
The Politics of Public Space
http://www.amazon.com/Politics-Public-Space-Setha-Low/dp/0415951399

Deleuze on cinema – ผลการค้นหาของ Google Booksโดย Ronald Bogue
http://books.google.co.th/books?id=ftyVvvJ9O2MC&pg=PT1&lpg=PT1&dq=Ronald+Bogue,Deleuze+on+cinema&source=bl&ots=0L-hZHQq4Q&sig=g8S1N64o6g6dMnvukz15FqcNTiw&hl=th&ei=uZ_xSuTiLpeQkQXCs9CJBw&sa=X&oi=book_result&ct=result&resnum=1&ved=0CAoQ6AEwAA#v=onepage&q=&f=false

โดยช่วงนี้ ผมเห็นเรื่องพิษเศรษฐกิจต่อคนงาน และกรณีรถไฟไทย แต่ว่าผมก็ยังไม่ได้ไปดูหนังเรื่องรถไฟฟ้ามาหานะเธอ เพียงชอบดูละครทีวีเรื่องคุณหนูฉันทนา…หลายครั้งตามข่าวว่า หอพัก และที่พักของผม ก็มีประสบการณ์ในความทรงจำทั้งเรื่อง การโดนปาหิน คนเสียงดังที่หอพัก ปัญหาคนแอบดูสาว ของหายในหอพัก ขโมย โจร ฯลฯ และแหวนของผม ซึ่งช่วงหนึ่งมันหายไปก็กลับคืนมาแล้ว ทั้งเรื่องราวประสบการณ์ใกล้ตัว เช่นคนตาย
ส่วนเรื่องราวเล่าสั้นๆ ว่า ความผูกพันกับพ่อ แม่ ญาติ และผมถูกแซวว่า แฟนผมเป็นแม้ว และการไปพบขีดจำกัดการตีความ ที่สนง.แห่งหนึ่งเขาเห็นหลักฐานทะเบียนบ้านเก่าของผม ซึ่งเขาก็ตีความว่าผมไม่ค่อยได้กลับบ้านหละสิ จริงๆแล้วผมกลับบ่อยต่างหาก และกระจกแตกในห้อง เสียดายกรอบรูป และเลข(13) เสียงกรี๊ด คลายเครียด ฯลฯ เล่าเป็นCode รหัส เพราะเมื่อวานดูทีวี เขาบอกว่ามีรหัสสีของห้องพิพิธภัณฑ์ลูฟท์ด้วยนะ ปิดท้ายด้วยกระจกวิเศษ (สโนวไวท์) http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B9%8C
และข่าวโดยอ.สมศักดิ์ว่า Claude L?vi-Strauss ตายแล้ว (ในที่สุด) อายุ 100 ปีพอดี 
ตายเมื่อวันศุกร์ เพิ่งประกาศวันอังคาร (วานนี้)
จาก New York Times http://www.nytimes.c…&pagewanted=allจาก Le Monde (ภาษาฝรั่งเศส)http://www.lemonde.f…#ens_id=1262333 จาก The Guardian http://www.guardian….trauss-obituary จาก Washington Post http://www.washingto…9110301477.html จาก The Times online http://www.timesonli…icle6901508.ece จาก The Telegraph http://www.telegraph…vi-Strauss.html จาก Bloomberg.com (…..)http://www.bloomberg…id=aY43vBHLDM6I

-สรรนิพนธ์มนุษยศึกษาและสังคมศาสตร์ในประเทศฝรั่งเศส ศตวรรษที่ 20

วันที่ 7 พ.ย.
คุณเป็นโรคนอนไม่หลับไหม? ผมก็นอนไม่หลับเหมือนกัน จึงมีหนังสือที่แนะนำเรื่อง
Learn to sleep well-chris idzikowski ใน neuronic.com กล่าวถึง แสง สี อวกาศ เสียง ฮวงจุ้ย และสุขศึกษา 
ส่วนวิธีแก้ปัญหาโรคนอนไม่หลับ เขาแนะนำว่าให้ดื่ม ฮอร์ลิก(Horlick) และทำ Sleep Diary
Sleepbetter.co.th
เรื่องราวเกี่ยวกับบ้านๆ  ที่มีความน่าสนใจ แน่นอน ว่า ผมก็ระลึกถึงบ้านของอาจารย์หลายคน ทั้งอ.สมโชติ อ.เอกกมล และอ.โกสุมภ์ ที่ผมเคยไปบ้านเหล่านั้น
ส่วน เรื่องราวชั้นหนังสือน่าสนใจ เช่น A Brief IIustrate History of the Bookshelf
จาก95 passion พลอย home

ผมสนใจเรื่องของสถานที่ หลับนอน นอนหลับ ฝันดี มีสุข และอ.ไชยันต์ เคยถือหนังสือเล่มนี้ไว้ในมือตอนผมไปสัมภาษณ์อ.ไชยันต์ ยังระลึกถึงเสมอ และขอบคุณไอเดียล่าสุดที่โทรมาหาผม
A sense of place: great travel writers talk about their craft, lives, and Inspiration โดย Michael Shapiro
http://books.google.co.th/books?id=iQvB3qZZTvsC&dq=A+sense+of+place&printsec=frontcover&source=bl&ots=JZOzNnM5H7&sig=zIkXzj28xr5IN5smZCEVOl-

RXJI&hl=th&ei=RhCtSsJ71oyQBe_4uJYG&sa=X&oi=book_result&ct=result&resnum=10#v=onepage&q=&f=false

ซึ่งผมนึกถึงผลงานของ Miriam Kahn "senses of place" บรรยายเรื่องราวของศิลปิน คนวาดภาพ สร้างภาพเกาะตาฮิติ โดยพอล โกแกง สร้างความสวยงาม โรแมนติค ต่างๆ
แน่นอนว่า สถานที่เป็นเรื่องน่าสนใจ เช่น หอสมุดแห่งชาติ ฝรั่งเศส มีหนังสือ มากกว่า 10 ล้านเล่ม และตึกทำเป็นรูปหนังสือถูกเปิดอ่านด้วย
สารคดีท่องเที่ยวของไทยพีบีเอส เที่ยวทวีปอะไรสักอย่าง ก็พาไปยังฝรั่งเศส หลายแห่ง หลายย่าน เช่น ย่านลาติน ที่สิงสถิตของนักเขียนดังๆ แต่ก่อนพวกเขาก็เป็นนักเขียนไส้แห้งอยู่ฝั่งซ้ายของย่าน มักดื่มเหล้าถูกๆแถวย่านนั้น และต่อมาที่ร้านเช็คสเปียร์ แอนด์ แฟรน์ด คัมปานี รับนักเขียนไม่มีผลงานมาอยู่ที่ร้าน แล้วอัลกินสเบริน์เคยมาแก้ผ้าอ่าน

บทกวีที่ร้านนี้ น่าสนุกดี และเที่ยวฝรั่งเศส ย่านศิลปิน พิพิทภัณฑ์มิวเซ่ โตร์เซป ปรากฏผลงานของโมเน่ เรอนัวร์ อิมเพรสชั่นนิสม์ถึงโพสต์ฮิมเพรสชั่นนิสมโดยผลงานของฟานก๊อกต่างๆ และพิพิทภัฑณ์ปิกัสโซ่ ที่ปิกัสโซ่อยู่ยามมาปารีส

ผมนึกถึงงานของDavid Harvey between space and time : Reflections on the geographical imagination และมาร์แซล์ พรูสต์ว่า ด้วยการวาดภาพ และการเขียนหนังสือ มันก็เหมือนกับการสร้างทฤษฎี และนักวิชาการต้องหวังสร้าง Theory ของตนเองกันบ้าง

แหละครับ  เช่น โพสต์โคโลเนี่ยนอย่าง Edward Said – ผลการค้นหาของ Google Books
โดย Bill Ashcroft, D. Pal S. Ahluwalia – 2001 – Literary Criticism – 167 หน้า
This volume explains Said’s key ideas, their contexts and impact, with reference to both his scholarship and journalism.
books.google.co.th/books?isbn=0415247780…

ไฮเดกเกอร์ Being and Time "Time is the Truth of space ในทัศนะของhegel และไฮเดกเกอร์"
ผมได้ดูทีวีชีวิตน่าสนใจของคนชื่อ บอย เซียนพระท่าพระจันทร์ รวยร้อยล้าน  และผมก็พบกับนายอั๋น โดยบังเอิญอีก ซึ่งมันคล้ายกับนฆปักษานาวิน มาฉายหนัง และผมก็พบกับพี่คนกำกับหนังเรื่องFinal score อีกครั้งคุยกันแป๊บหนึ่ง
ถ้านึกถึง Deleuze on cinema และผมพูดถึงภาพยนตร์ที่น่าสนใจ ปี 2514  เปี๊ยก สร้างเรื่อง  "ดวง"(ผมอยากหาดูหนังเก่าเรื่องนี้แหละ) เพราะผมเพิ่งดูเรื่องชู้ ปี 2515 และสิ่งที่น่าสนใจ คือ น้ำยาหยอดตา ที่มีผลทำให้ชู้ หรือ คนรักตาบอดได้ อุปมากับน้ำทะล
สุดท้าย บทบาทของนางเอกผู้อาภัพ วันดี ศรีตรัง มีชีวิตน่าสนใจยิ่งนัก
http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=3591&page=6&keyword=
พรุ่งนี้ ผมอาจจะได้ไปงานแต่งของต้อม ผู้ชายฮาๆ หมู่มิตร ที่โทรมาหาผม ชวนเชิญกันไป

วันที่ 13-15 พ.ย.2552
เส้นทางลดแห่งซาดหมายเลก ๑๓  หรือ ท.๑๓  แปลว่า เส้นทางรถแห่งชาติหมายเลข ๑๓ หรือ ท.๑๓ ซึ่งเรียกอีกชื่อว่าเส้นทางสายอาณานิคมที่ ๑๓ จากหลวงพระบางถึงเวียงจันทน์ บนเส้นทางมองเห็นหุบเขา และถนนดูวกวนคดเคี้ยวไม่เป็นเส้นตรง  และลาวกำลังเริ่มต้นพัฒนารถไฟ
ส่วนผมก็ไม่ได้เขียนเล่าอะไรน้ำท่วมทุ่งนา หรือ คนอ่านเหมือนกินน้ำกินท่า แล้วคนอ่านไม่ได้กินถ้อยคำ ทั้งที่ชีวิตคนเรา บางครั้งก็รู้สึกเหมือนใจละลายเป็นน้ำ
น้ำใจในความหมายของไทใหญ่เป็นน้ำเมา(สุรา) และผมนึกถึงน้ำหล่อเลี้ยงจิตใจ โดยดนตรีของจอห์น เคจ (John Cage) คีตกวี นักเปียโน นักเขียน และนักปรัชญาทางดนตรีชาวอเมริกัน เกิดที่เมือง ลอสแอนเจลิส เมื่อปี พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) เสียชีวิตที่เมือง นิวยอร์ก ในปี พ.ศ. 2535

(ค.ศ. 1992) เป็นคีตกวีที่มีบทบาทสำคัญในช่วงหหลังสงครามโลกครั้งที่สองของอเมริกา ท่านมีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดที่สำคัญทางดนตรีในศตวรรษที่ 20 อยู่หลายสายเช่น ทางสายดนตรี "อวองการ์ด" (Avantgarde) ที่ทางฝั่งยุโรปมีผู้นำอย่าง "คาร์ลไฮนซ์ สต็อกเฮาเซน"

(Karlheinz Stockhausen [1928-]) และ "ปิแอร์ บูเลซ" (Pierre Boulez [1925-]) สายดนตรีแบบ "แนวคิดนิยม" (Conceptualism) รวมถึงสายดนตรี "มินิมัลลิสม์" (Minimalism) ที่เกิดขึ้นในอเมริการาวคริสทศวรรษที่ 1970 ด้วย

เนื้อหา
ชีวประวัติและผลงาน
ศึกษาดนตรีกับ อาร์โนลด์ เชินแบร์ก (Arnold Schoenberg [1874-1951]) และ เฮนรี คาวเวล (Henry Cowell [1897-1965]) ซึ่งมีอิทธิพลต่องานของท่านในช่วงทศวรรษที่ 1930
งานดุริยนิพนธ์ในช่วงแรก
งานดุริยนิพนธ์ในช่วงแรกของท่านมีพื้นฐานมาจากการจัดวางระดับเสียงในบันไดเสียงโครมาติก หลังจากที่ท่านสังเกตเห็น เฮนรี คาวเวล นำอุปกรณ์พิเศษต่าง ๆ (เช่น คลิปหนีปกระดาษ ยางลบ ตะปู ฯลฯ) ไปวาง เสียบ หรือสอดระหว่างสายของ เปียโน เพื่อสร้างสีเสียง (timbre หรือ

tone color) ที่ไม่เคยมีมาก่อนขึ้นนั้น ท่านก็หันมาสนใจในเปียโนพิเศษนี้ ซึ่งเรียกกันว่า prepared piano หรือเปียโนที่เตรียมแล้ว (เปียโนแปลง) ท่านประพันธ์งานโดยใช้เปียโนดังกล่าวในงานที่ชื่อว่า "บัคคานาล" (Bacchanale-1938) ให้กับ ซิลวิลลา ฟอร์ท (Sylvilla Fort

[1917-75]) โดยใช้แทนกลุ่มเครื่องเพอร์คัสชั่น ซึ่งทำให้ prepared piano กลายสภาพไปเป็นวงเพอร์คัสชั่นที่บรรเลงโดยคน ๆ เดียว ต่อจากนั้นประพันธ์ "เมตามอร์โฟซิส" (Metamorphosis-1938) และงานชิ้นสำคัญที่นำชื่อเสียงมาให้ท่านในช่วงแรกนี้ก็คือ "โซนาตาและอินเท

อลูด" สำหรับเปียโนแปลง (Sonatas and Interludes for prepared piano [1946-48]) จำนวน 20 บท (โซนาตา 16 บท และ อินเทอลูด 4 บท) ในบทเพลงนี้ เคจได้บันทึกวิธีการแปลงเสียงของเปียโนจำนวน 45 เสียงเอาไว้เพื่อสร้างเเสียงที่มีลักษณะอย่างเพอร์คัสชั่นแบบใหม่

ขึ้น ท่านใช้ชุดของตัวเลขเพื่อที่จะกำหนดจังหวะในหลายบทเพลงของงานชุดนี้ โดยตั้งใจให้เพลงทุกบทในชุดแสดงแนวคิดเรื่อง "อารมณ์เดียวโดยตลอด" ซึ่งท่านได้รับอิทธิพลจากดนตรีอินเดีย โดยมีอารมณ์เช่น เจ็บปวด ยิ้มหัว วีรบุรุษ สงบ ฯลฯ ท่านใช้ตารางเมทริกซ์ ในการคำนวณ

ความยาวของบทเพลงซึ่งส่งผลให้เกิดเอกภาพในงานโดยรวมและทำให้เลี่ยงจังหวะแบบปกติหรือที่เรียกว่า "เรกูลา ริทึม" (regular rhythm) ไปได้ (จังหวะไม่ปกติ เรียกว่า "อิเรกูลา ริทึม" (irregular rhythm)) ซึ่งทำให้บทเพลงมีความลื่นไหลปราศจากการถูกบังคับโดยเส้นกั้นห้อง

งานในช่วงแรกอื่น ๆ ก็มี "สตริงควอเต็ทอินโฟร์พาร์ท" (String Quartet in Four Parts [1950]) และ "คอนแชร์โตสำหรับเปียโนแปลงและวงดุริยางค์เชมเบอร์ที่ประกอบด้วยนักดนตรีเดี่ยว 22 คน" (Concerto for prepared piano and chamber orchestra of 22

soloists [1951])

ช่วงที่สอง
ในระหว่างนั้นท่านก็ได้ศึกษาพุทธศาสนานิกายเซนและตัดสินใจที่จะถ่ายทอดแนวคิดเซนเรื่อง "จิตว่าง" ออกมาเป็นดนตรี หลังความพยายามอย่างยิ่งยวดท่านก็ได้ประพันธ์ "อิเมจิแนรี แลนด์สเคป หมายเลข 4" (Imaginary Landscape No. 4 [1951]) สำหรับวิทยุ 12 เครื่อง และ

"มิวสิค อออฟ เชนช์" (Music of Change [1951]) สำหรับเปียโนจำนวน 4 เล่มด้วยกัน งานทั้งสองชิ้นเป็นการนำปรัชญาเซนมาแปลงให้เป็นดนตรี โดยมีเครื่องมือเป็นตำราเกี่ยวกับการทำนายของจีนโบราณที่ชื่อว่า "อี้จิง" คัมภีร์แห่งการเปลี่ยนแปลง และเหรียญที่ใช้ในการทอย 3

เหรียญ ผลที่ได้นั้นก็คือ บทเพลงทั้งหมดถูกกำหนดโดยโอกาสในการทอยเหรียญซึ่งมีผลในแต่ละครั้งตรงกับสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในคัมภีร์อี้จิง สัญลักษณ์ต่าง ๆ นั้น เคจได้นำมาจัดระบบให้ตรงกับองค์ประกอบต่าง ๆ ทางดนตรี ไม่ว่าจะเป็นระดับเสียง ความสั้นยาวของจังหวะ ความดัง ฯลฯ

ซึ่งในปัจจุบันเรียกวิธีการประพันธ์แบบนี้ว่า "อินดีเทอมิเนซี" (Indeterminacy) คีตกวีบางท่านเรียกวิธีการแบบนี้ว่า "อะเลียโทรี" (Aleatory) ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า alea แปลว่า ลูกเต๋า งานที่มีชื่อมากที่สุดในช่วงนี้มีชื่อว่า 4’33" (1952) เป็นบทเพลงที่เทคนิคในช่วงที่

สองได้พัฒนาไปจนถึงจุดขอบ เพราะเพลงดังกล่าวไม่มีเสียงอะไรเล็ดลอดออกมาจากผู้เล่น (อย่างน้อยก็ในความหมายของการบรรเลงดนตรีแบบเดิม) ในโน้ตเพลงจะประกอบด้วยสามกระบวน (movement) ทุกกระบวนจะบันทึกไว้ว่า tacet ซึ่งแปลว่าเงียบ นักดนตรี (คนเดียวหรือ

หหลายคน) จะนั่งเงียบ ๆ บนเวทีเป็นเวลา 4 นาที 33 วินาที เคจกล่าวว่าท่าน "คาดหวังให้ผู้ฟังฟังเสียงทุกเสียงที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่กำหนดอย่างตั้งอกตั้งใจ"

ในช่วงปี ค.ศ. 1951 นั้น วลาดิมีร์ อูซาเชฟสกี (1911-90) ได้ทดลองใช้ดนตรีไฟฟ้าที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เคจก็เช่นกัน ท่านสนใจการสร้างงานต่าง ๆ บนเทปแแม่เหล็กและประยุกต์เอาวิธีการแแบบ อะเลียโทรี ที่ได้กล่าวไปแล้วมาประพันธ์งานที่ชื่อว่า อิแมจิแนรี แลนด์สเคป หรือ

ทิวทัศน์ในจินตนาการ หมายเลข 5 (Imaginary Landscape No. 5[1952]) และงานที่ชื่อว่า วิลเลียม มิกซ์ (William Mix [1952]) งานอย่าง อิแมจิแนรี แลนด์สเคป หมายเลข 5 เสียงวัตถุดิบประกอบด้วยเสียงอะไรก็ได้ที่บันทึกมาจำนวน 42 ชิ้น ใน วิลเลียม มิกซ์ นั้นประกอบด้วย

เสียงหกปประเภทเช่น "เสียงของเมือง" "เสียงของชนบท" "เสียงที่เกิดจากลม" เป็นต้น เคจใช้เทปในการประกอบเสียงเข้าด้วยกันแบบตัดแปะหรือที่เรียกว่า คอลลาจ (Collage) ในขณะที่ อูซาเชฟฟสกี จะแปลงเสียงที่ได้มานอกเหนือจากบันทึกแล้ว

นวัตกรรมต่อไปของเคจก็คือ "แฮพเพนนิง" หรือการแสดงออกโดยฉับพลันทางศิลปะ ในกรณีของเคจเป็นดนตรี เคจจะสร้างงานจากกิจกรรมหรือการนำเสนอใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นดนตรีหรือไม่ สิ่งเหล่านั้นจะต้องเกิดพร้อมกันแต่ต้องไม่สัมพันธ์กัน เคจยังสร้างงานประเภทที่เรียกว่า "ดนตรี

ละคร" (Theatre Music) เช่นงานอย่าง "Water Music" (1952) ซึ่งในการแสดงต้องมีกิจกรรมที่นักเปียโนแแสดงโดยไม่เกี่ยวข้องกับเปียโน (เทน้ำและเป่านกหวีดที่อยู่ใต้น้ำ เป็นต้น) เหตุการณ์ที่ปรากฏทางสายตาเป็นสิ่งสำคัญในงานประเภทนี้ แนวความคิดอย่าง "แฮพเพนนิง" นี้

เป็นต้นแบบของขบวนการ "ฟลุกซุส" (Fluxus) ที่เกิดขึ้นในนิวยอร์กช่วงปี ค.ศ. 1960-65 ซึ่งนำเสนอคอนเสิร์ทที่ "ดนตรี" นั้นสร้างจากสิ่งที่ไม่ธรรมดาและมักจะดูตลกขบขัน หัวหอกท่านหนึ่งของขบวนการฟลุกซุสก็คือ จอร์จ เบรกท์ นั้น สร้างงานอย่าง "Drip Music" อันเป็นงานที่

ประกอบด้วยการหยดน้ำจากที่ใดที่หนึ่งหนึ่งลงไปยังขวดเก็บน้ำ ลักษณะแบบเดียวกันยังก่อให้เกิดการล้อเลียนในงานของ ลิเกตี (Ligeti [1923*]) อย่าง Po?me symphonique สำหรับ เมโทรโนม 100 ตัว อีกด้วย
ผลงานบางส่วนของ จอห์น เคจ
ออร์เคสตรา
Concerto for prepared piano and chamber orchestra (1951)
Concert for Pianoforte (1957-58)
Atlas Eclipticalis (1961-2)
30 Pieces for 5 Orchestras (1981)
เพอร์คัสชั่นและเครื่องดนตรีไฟฟ้า
Construction I in Metal สำหรับวงเพอร์คัสชั่น 6 ชิ้น (1939)
Imaginary Landscapes
หมายเลข 1 สำหรับเครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบปรับความเร็วได้ 2 เครื่อง มิวท์เปียโน และฉาบ (1939)
หมายเลข 2 (มาร์ช) สำหรับวงเพอร์คัสชั่น 5 ชิ้น (1942)
หมายเลข 3 สำหรับวงเพอร์คัสชั่น 6 ชิ้น (1942)
หมายเลข 4 (มาร์ช หมายเลข 2) วิทยุ 12 เครื่อง นักดนตรี 24 คนและวาทยากร (1951)
หมายเลข 5 (1952)
Speech สำหรับวิทยุ 5 เครื่องและผู้ประกาศข่าว (1955)
27’10.554" สำหรับ นักเล่นเพอร์คัสชั่น
เชมเบอร์
3 pieces for ฟลู้ต สองเลา (1935)
String Quartet (1950)
4’33" (ความเงียบ) สำหรับเครื่องดนตรีหรือกลุ่มเครื่องดนตรีอะไรก็ได้ (1952)
HPSCHD สำหรับ ฮาร์พซิคอร์ด 7 หลัง และเครื่องเล่นเทปจำนวน 51 (หรือเท่าไรก็ได้) เครื่อง (1967-9)

บรรณานุกรม
Stolba, K. Maria: The Development of Western Music-A History, second edition, Mcgraw-Hill (1990, 1994)
Kennedy, Michael: The Oxford Dictionary of Music, Oxford University Press (1985)

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%99_%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%88

4?33? (pronounced Four minutes, thirty-three seconds or, as the composer himself referred to it, Four, thirty-three[1]) is a three-movement composition[2][3] by American avant-garde composer John Cage (1912–

1992). It was composed in 1952 for any instrument (or combination of instruments), and the score instructs the performer not to play the instrument during the entire duration of the piece throughout the three movements

(the first being thirty seconds, the second being two minutes and twenty-three seconds, and the third being one minute and forty seconds). Although commonly perceived as "four minutes thirty-three seconds of

silence",[4][5] the piece actually consists of the sounds of the environment that the listeners hear while it is performed.[6] Over the years, 4?33? became Cage’s most famous and most controversial composition.[2]

Conceived around 1947–1948, while the composer was working on Sonatas and Interludes,[2] 4?33? became for Cage the epitome of his idea that any sounds constitute, or may constitute, music.[7] It was also a

reflection of the influence of Zen Buddhism, which Cage studied since the late forties. In a 1982 interview, and on numerous other occasions, Cage stated that 4?33? was, in his opinion, his most important work.
http://en.wikipedia.org/wiki/4%E2%80%B233%E2%80%B3

4’33",19’19",0 จากหนังสือในเขาวงกตของมุกหอม วงษ์เทศ และเรื่องเพลงเงียบ  ผู้ฟังคอยฟังเสียงต่างๆ เช่น เสียงขยับตัว เสียงเสื้อผ้า เสียงคนไอ เสียงคนหายใจ  เสียงเครื่องปรับอากาศ เสียงรองเท้ากระทบพื้น เสียงหึ่งๆในหู เสียงการจราจรจากถนน เขาค้นพบว่าไม่มีความเงียบ ที่

แท้จริงในโลกนี้ ในเวลาที่เหมือนจะเงียบที่สุด ก็ยังมีเสียงอะไรบางอย่าง  เช่น เสียงการเต้นของชีพจรภายในตัวของเราเอง

Design Icon: เดวิด เบิร์น (David Byrne)
August 7th, 2009  
 

“ความงามที่เป็นเลิศนั้นมีอยู่ในความธรรมดาสามัญ”

David Byrne เกิดเมื่อปี ค.ศ.1962 ในประเทศสก๊อตแลนด์ เขาคือ ศิลปินผู้นำเสนอปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ผ่านภาพถ่าย ดนตรี ภาพยนตร์ หรือแม้กระทั่ง PowerPoint Presentation

Byrne เป็นที่รู้จักต่อสาธารณะครั้งแรกในช่วงปี ค.ศ.1976 – 1988 พร้อมวง Talking Heads ซึ่งเป็นวงดนตรีแนว art rock ของสหรัฐอเมริกา เขามีชื่อเสียงโด่งดังจากตำแหน่งนักร้องนำ นักแต่งเพลง และมือกีต้าร์ ทำนองและเนื้อเพลงของวง Talking Heads นี้จะไม่เน้นการแสดงถึงอารมณ์อ่อนไหว แต่มุ่งนำเสนอความคิดในเชิงปรัชญา จึงมีกลุ่มผู้ฟังที่หลากหลายตั้งแต่นักคิดไปจนถึงนักเต้นเท้าไฟ

ด้วยเป็นศิลปินที่ชอบการถ่ายภาพมาตั้งแต่สมัยเรียน Byrne เริ่มทำนิทรรศการแสดงผลงานภาพถ่าย ในช่วงที่เขาอายุได้ราว 30 ปี โดยมี Strange Ritual (1995) เป็นหนังสือเล่มแรกที่รวบรวมงานภาพถ่ายของเขาไว้ Byrne ได้นำเสนอภาพที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาสินค้าในสังคมอเมริกัน เป็นภาพถ่ายชีวิตประจำวันของชาวอเมริกันซึ่งดูแสนจะธรรมดา แต่ถ้าหากมองอย่างละเอียดแล้ว จะพบว่าในทุกอณูของการดำรงชีวิตมียี่ห้อสินค้าติดอยู่ทุกส่วน

Byrne มักแทรกอารมณ์ขันเข้าไปในงานศิลปะของเขาเสมอ ผลงานที่ชื่อ The Wedding Party (ค.ศ. 1998) เป็นงานชิ้นที่ Byrne ทำงานร่วมกับภรรยา Adelle Lutz ซึ่งเป็นทั้งศิลปินและนักออกแบบ The Wedding Party แสดงภาพของใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ที่ถูกจับมาแต่งตัวหรูหราเพื่อไปงานแต่งงาน เช่น แจกันดอกไม้ใส่ชุดราตรี เชิงเทียนและโต๊ะใส่ชุดสูท ซึ่ง Byrne ตั้งคำถามระหว่างของใช้ประจำวันทั่วไป กับของที่คนใช้ในโอกาสพิเศษ ซึ่งเขาเองคิดว่ามันไม่แตกต่างกันเลย

Byrne เป็นศิลปินที่ไม่จำกัดตัวเองอยู่ในกฏเกณฑ์ สิ่งที่เขาทำคือ พยายามผลักดันงานศิลปะให้เป็นงานเชิงพาณิชย์มากขึ้น ผลงานตีพิมพ์หนังสือพร้อม DVD ที่ชื่อ Envisioning Emotion Epistemological Information (2003) ของเขา นำเสนอภาพถ่ายร่วมกับบทประพันธ์เพลง โดยนำเทคนิคแพรวพราวของโปรแกรม PowerPoint มาใช้ร่วมด้วย หนังสือและ DVD ชุดนี้อ้างอิงจากหนังสือของนักออกแบบชื่อดัง Edward Tufte ที่ชื่อ Envisioning Information โดย Tufte ได้วิจารณ์โปรแกรม PowerPoint ไว้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้สังคมมีปัญหา (ในขณะที่บริษัท Microsoft ให้ข้อมูลว่าทุกๆ วันมีการนำเสนองานด้วยโปรแกรม PowerPoint นี้ถึง 30 ล้านชิ้น) ส่วน Byrne นั้น เขาไม่ได้มีปัญหากับความนิยมที่พุ่งขึ้นสูงของเจ้าโปรแกรม PowerPoint นี้เลย กลับมองว่า มันเป็นรูปแบบของงานศิลปะที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันด้วยซ้ำ

Byrne ไม่เคยสนใจกับคำวิพากษ์วิจารณ์ของนักปรัชญาที่หยิ่งยโส เขาคิดว่า คนพวกนี้มักมีมุมมองแปลกๆ ว่า ถ้าสิ่งของชิ้นไหนเป็นที่นิยมในสาธารณชนแล้ว ของสิ่งนั้นคงไม่น่าจะเป็นของดีได้

รวบรวมโดย ณัฎฐิณี กาญจนาภรณ์
 
 http://www.tcdcconnect.com/content/blog/?cat=94&paged=2

ถ้าคำบางคำเป็นปัญหาแง่ลบ เช่น รถติดเป็นอัมพาต และความรักทำให้คนตาบอด แล้วคนพิการรู้สึกไม่ดีทางการสื่อสาร และเรามีสิทธิพิการสูง น่ะครับ
ผมได้รับหนังสือผลงานของเจมส์ จ๊อยซ์ ในเรื่อง The Dead จากพี่ภัควดี ซึ่งผมก็พูดคุยกันเอง และหนังสือจากอาจารย์ฉัตรทิพย์ สองเล่ม โดยเล่มหนึ่ง คือ ประวัติศาสตร์ความคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองไทยของนภาพร และประวัติศาสตร์ไทอาหม ส่งมาทางไปรษณีย์ในที่สุด ผมก็คิด

เรื่องสื่อ(Media) อย่างน่าสนใจจากการไปร่วมงานสื่อ รวมทั้งไม่ได้เจอพี่นพ กลุ่มรักษ์เชียงของตั้งนาน คนอื่นๆ ถึงบางพื้นที่กิจกรรมต่างๆ  และอย่าลืมออกกำลังกายกันบ้าง น่ะครับ ผมชอบเรื่องราวของเกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง ผลงานแปลงานความเรียงเชิงบันทึกจากต้นฉบับ What I Talk About When I Talk About Running ของ ฮารูกิ  มูราคามิ นัก

เขียนใหญ่ชาวญี่ปุ่น แปลโดยนพดล เวชสวัสดิ์  มันเล่าเรื่องชีวิตของการเป็นนักเขียน จากก้าวเดินบนเส้นทางของการตัดสินใจ มาสู่การคิด เตรียมตัวเป็นนักเขียน และว่าด้วยชีวิตของเขาไม่ได้มีพรสวรรค์ เหมือนกับนักเขียน ที่มีพรสวรรค์ตั้งแต่เกิด เหมือนตาน้ำที่ไหลหลั่งผุด ดั่งถ้อยคำ

พรั่งพรู ก็นั่นคือ สิ่งที่ผมดัดแปลงจากเล่มเกร็ดความคิด

… น้ำซึมอยู่เต็มบ่อน้ำบาดาล มันสามารถกลายเป็นน้ำพุแห่งความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมันรู้สึกถึงความใกล้เคียงจากชีวิตของพรูสต์ ที่ผมอ่านไว้ The Quest of Proust —ความเป็นอัจฉริยะของพรูสต์ ซึ่งในหนังสือกล่าวเปรียบเปรยว่า

มันเหมือนบ่อน้ำบาดาล  (Artesian aquifer)เกิดจากน้ำที่กักเก็บอยู่ในชั้นเห็นเก็บน้ำใต้ดินภายใต้แรงกดดัน เมื่อมีการขุดบ่อลงไปที่ชั้นกับเก็บน้ำนี้ น้ำจะถูกแรงดันไหลออกมาโดยไม่ต้องใช้แรงสูบน้ำมาก ซึ่งกล่าวถึงความคิดสร้างสรรค์เหมือนน้ำ….(บอย).

เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง บันทึกว่าด้วยการเป็นนักเขียนนักวิ่งโดย ฮารูกิ มูราคามิ  นักเขียนมืออาชีพผู้มีชื่อเสียงในระดับโลก หนังสือความเรียงเชิงบันทึกเล่มนี้อ่านง่าย อ่านสนุก เหมาะสำหรับผู้อ่านงานของมูราคามิทุกประเภท ไม่ว่าจะชิงชัง เฉยๆ หรือชื่นชอบ   ผู้อ่านที่เคยงงงวยกับเรื่องราวในนิยาย หรือ เรื่องสั้นของเขา จะได้

อ่านงานเขียนที่ติดตามและเข้าใจได้ไม่ยาก ผู้อ่านที่เฉยๆ จะได้เห็นความพยายาม วินัย วิสัยทัศน์ ของนักเขียนที่ออกตัวว่าไม่มีพรสวรรค์ มีแต่ความมุ่งมั่น  ผู้อ่านที่เป็นแฟนตัวจริงจะได้ทำความรู้จักกับนักเขียนที่ตนชมชอบแบบโปร่ง ชัด ไม่ผ่านการฉาบเคลือบจากการตีความของบุคคลอื่น

ดังเช่นในหนังสือที่เขียนถึง เขาโดยใครต่อใครมากมาย ดังคำกล่าวของ นพดล เวชสวัสดิ์ นักแปลผู้แปลงานของฮารูกิ มูราคามิ มาแล้วนับสิบเล่ม ที่ว่า “ในเล่มนี้ได้อ่านชีวิตของมูราคามิ และวิธีการเติมพลังให้แกร่งเพื่อจะทำงานที่ตนรัก-เขียนนิยายสืบไป มองในแง่หนึ่ง เรารู้จักทำนองชีวิต

ของยอดนักเขียนผู้นี้ได้ดีขึ้น ชื่นชมการต่อสู้เงียบงันที่ไม่ได้ประกาศให้โลกได้รับทราบ และในอีกแง่ ผู้อ่านก็สมควรลุกมาออกกำลังกาย เสริมความแกร่งให้ตนเองมากขึ้น…เพื่อจะได้ทำงานที่ตนรัก-เสพอรรถรสจากตัวหนังสือต่อไปอีกยาวนาน”  
http://www.thaiwriter.net/forum01/index.php?topic=5051.0

มูราคามิ ชื่นชอบผลงานของฟิตจอรัสด์มาก เขายังกล่าวถึงงานฟิสจอรัสด์ เรื่องชีวิตและผลงาน ซึ่งผมคิดว่า มันเป็นอำนาจของเรื่องเล่า และคนรุ่นสูญหาย lost in generation ในฐานะนักเขียน ที่มีเฮมิงเวย์ และฟิตสเจอรัสด์ สร้างชื่อเสียง หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยผลงานของฟิต

สเจอรัสด์ ก็ได้มีการแปลผลงานเรื่องประหลาดของเบนจามิน บัตทอน จากสนพ.ของประเทศไทย www.wanakam.com/literature.asp?LiteratureID=68 ซึ่งคนเป็นบก.แปล และออกแบบหน้าปก รวมทั้งสนพ.ผมก็รู้จักกับพวกเขา โดยที่มาจากเว็บวรรณกรรม ที่มีการแปลผล

งานต่างๆ ซึ่งน่าสนใจมากรวบรวมงานแปลต่างๆไว้เยอะมาก ถ้ากลับไปครุ่นคิดเรื่องคุณภาพของการแปล และวรรณกรรม  และผมก็เคยเขียนถึงฟิตจอรัสด์เรื่องมิตรภาพ เพื่อนจากเรื่องThe Great gatsby ถ้าเรานึกถึง"คุณภาพ"ของเพื่อน เช่น สำนวนไทยๆว่า คนเดียวหัวหาย  สองคน

เพื่อนตาย http://www.suriyothai.ac.th/library/studentshow/st2545/5-5/no22/people.html คำพังเพยที่ควรทราบ. คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย ความหมาย คนจะทำอะไรต้องมีเพื่อนคู่คิด หรือจะไปไหนต้องไปสองคนจึงจะปลอดภัย ////คนเดียวหัวหาย..สองคน

เพื่อนตาย..สามคนสบาย …สี่คนวุ่นวาย…ห้าคนฉิบหาย/// ฯลฯ จริงๆ สำนวน สุภาษิต คำพังเพยของคนไทย คำเมือง ฯลฯ มันก็ตลกดีเรื่องราวของคน และมันก็สะท้อนเรื่องคุณภาพของเพื่อน สำคัญกว่าปริมาณ "สองคนเพื่อนตาย" เป็นต้น

คุณภาพของการออกกำลังกาย เดินเล่นออกกำลังกาย ดีกว่าวิ่งหนักหน่วงทำร้ายร่างกายเกินไป ถ้านึกถึงคุณภาพของเพื่อน มากกว่าปริมาณ ทั้งเรื่องคุณภาพ และปริมาณ ในDialatic อย่างไรก็ตาม เราสามารถรู้ถึงงานวิจัยเชิงคุณภาพ กับงานวิจัยเชิงปริมาณ มันต่างกัน ง่ายๆ ในแง่คุณภาพของการออกกำลังกาย

แต่ว่าผมต้องหยุดออกกำลังกายประจำวัน ใน วันที่ 15 เมื่อชีวิตของผม ต้องออกเดินทางต่อไป

วันที่ 16-27 พ.ย.
แด่ภราดรภาพในทัศนะของปรีดี พนมยงค์ ในฐานะฉันพี่น้อง
เมื่อวันเวลาหลายวัน เดือนผ่านไป ผมระลึกถึงกิจกรรมนักศึกษาในอดีต และคนที่เราเคยร่วมงานกิจกรรม จนกระทั่งสมัยปัจจุบัน ผมก็นึกถึงกลุ่มน.ศ.ปูดู นุ ภูมิ ต๋อง อบ อาร์ต มล และกลุ่มต้อมๆ ตั้ม ฝน อัมรี แม็ก บอย ขวัญ ซาร่า พี่เตียว ต่างๆ
ศิลปิน     ไผ่ พงศธร
เพลง     คนบ้านเดียวกัน
โอ๊ย..น้อ..นอ…คนบ้านเฮา คนบ้านเดียวกัน แค่มองตากันก็เข้าใจอยู่ รู้ว่าเหนื่อยแค่ไหน ว่าหนักแค่ไหนบนหนทางสู้
http://daraoke.gmember.com/idxplaymv.do?mv_id=0701541401
ดูMV แฟนเราเอาแต่ใจ "ไอน้ำ" ตลกดี น่ะครับ
http://www.youtube.com/watch?v=GNRPYC-6NCY
ตลกๆ กับเพลง อย่างนี้มันต้องถอน
http://www.youtube.com/watch?v=GNRPYC-6NCY

หนู
หนู ๑
ความหมาย
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายสกุลในวงศ์ Muridae มีฟันแทะ มีอยู่ทั่วไปตามบ้านเรือนและในถิ่นธรรมชาติ มีหลายชนิด เช่น หนูพุกใหญ่ (Bandicota indica) หนูท้องขาว (Rattus rattus) บางชนิดเป็นพาหะนําโรค. ว. เล็ก (ใช้เฉพาะพรรณไม้บางอย่างที่มีพันธุ์เล็กหรือของ

บางอย่างชนิดเล็ก) เช่น กุหลาบหนู แตงหนู หม้อหนู.

หนู ๒
ความหมาย
สรรพนามบุรุษที่ ๑ ผู้น้อยใช้พูดกับผู้ใหญ่, สรรพนามบุรุษที่ ๒ ผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย, คําสําหรับเรียกเด็ก มีความหมายไปในทางเอ็นดู เช่น หนูแดง หนูน้อย.

คุณหนู
คำเรียกลูกของเจ้านาย
หนู เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และยุคดึกดำบรรพ์Triconodon ลักษณะคล้ายหนูว่ากันว่า คือ บรรพบุรุษของมนุษย์
เพลงประกอบละครคุณหนูฉันทนา (ละครทีวีเกี่ยวกับสาวโรงงาน จบไปวันก่อน)
เพลง เธอคงไม่รู้
แค่ผู้ชายคนนึง ไม่เลิศเลอกว่าใคร
แต่ฉันมีความจริงใจให้เธอเต็มร้อย
และมีความหวังดีให้เธอไม่น้อย
พร้อมจะคอยดูแลเธอในวันที่อ่อนล้า….
http://musicbox.dontreeza.com/drama/1641.html

วันที่ 28-30 พ.ย.
เรื่องแมวๆ สำหรับคนรักแมว หลายวันก่อน ที่หอพักของผม เจ้าแมวเหมียว ทะเลาะกันส่งเสียง ลั่นห้อง ผมนอนหลับไม่สงบ และก็ผมพูดเล่นๆ กับรุ่นน้อง ที่ออกมาไล่มัน ตอนเช้าว่า ผมนึกว่า แมวจะเจรจาสันติภาพกันสำเร็จ 555

“บอง ชวลิต” ชาติไทยในมุมมองจากคอนโดฯ
http://www.prachatai.com/journal/2009/11/26617

ส่วนใหญ่งานของผม ดูเพิ่มเติมที่ไทยอีนิวส์ ได้ครับ
Thaienews!!!!

"เชื้อชาตินิยม – เอกภาพของชาติ" … คมความคิด ปรีดี พนมยงค์
ณ.ณ.’s picture
Fri, 11/13/2009 – 02:25 | by ณ.ณ. | Report topic

เชื้อชาตินิยม
“ทัศนะเชื้อชาตินิยม” (Racism) เป็นทัศนะที่นิยมหรือรักษาเฉพาะคนเชื้อชาติเดียว อันเป็นทัศนะคับแคบที่สืบมาจากทัศนะสังคมต่างกลุ่มเผ่าพันธุ์โดยมิได้คำนึง ถึงความเป็นจริงในปัจจุบันและประวัติศาสตร์และวิวรรตการของ “ชาติ” …
ทรากของ “ทรรศนะเชื้อชาตินิยม” (Racism) ยังคงตกค้างอยู่ในหลายชาติ จึงเป็นเหตุให้คนจำนวนหนึ่งแห่งเชื้อชาติในชาตินั้นๆ ถือว่าเชื้อชาติของตนอยู่เหนือเชื้อชาติและชนชาติอื่นซึ่งเป็นส่วนข้างน้อย อยู่ในชาติเดียวกัน อันเป็นการบั่นทอนเอกภาพของชาติ ซึ่งทำให้ชนส่วนน้อย (Minority) ในชาติดิ้นรนแยกดินแดนดังปรากฏอยู่ในหลายประเทศ
พวก “เชื้อชาตินิยม” ได้ผลักดันทัศนะของตนเป็นการ “คลั่งเชื้อชาติ” หรือ “คลั่งชาติ” (Chauvinism) เพราะถือว่าชาติเป็นของเชื้อชาติเขาเท่านั้น ครั้นแล้วก็คิดรวมคนเชื้อชาติเดียวกันที่อยู่ในดินแดนต่างๆ เข้ามาเป็นอาณาจักรเดียวกันเช่นที่ฮิตเลอร์ได้ดำเนิน ซึ่งเป็นการล้มเหลวและนำคามพ่ายแพ้มาสู่ประเทศเยอรมัน
(ปรีดี พนมยงค์, “ความเป็นมาของชื่อ ประเทศสยาม กับประเทศไทย” 2517)
คำคม-ความคิด ปรีดี พนมยงค์
… รวบรวมโดย ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
———————————————————————————-
เอกภาพของชาติ
การรักปิตุภูมิท้องที่ (Local Patriotism) ของชนชาติส่วนน้อยในประเทศต่างๆ นั้น ยังไม่อาจหมดสิ้นไปได้ภายในเวลาสั้นๆ … วิธีใช้อำนาจปราบปรามพวกคิดแยกดินแดนเป็นเพียงวิธีเดียวเท่านั้น มีตัวอย่างประเทศใดในปัจจุบันนี้บ้างที่รักษาเอกราชของของชาตินั้นไว้ได้ อย่างราบรื่น และวิธีโบราณที่ให้ทุกชนชาติในสังคมถือพระศาสดาองค์เดียวกันนั้น … ก็ไม่สามารถรวมกันเป็นเอกภาพได้ ดังนั้นจึงควรพิจารณาว่า ถึงเวลาหรือยังที่จะไม่สายเกินไปในการใช้วิธีรักษาเอกภาพของชาติไทยจากราก ฐานที่แท้จริงของสังคม โดยสถาปนาระบบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง ทัศนะสังคมอันเป็นรูปสังคมที่เหมาะสมเพื่อให้ทุกชนชาติเห็นว่าระบบนี้นำความ ผาสุกในความเป็นอยู่ที่แท้จริงของเขาได้ พวกเขาก็จะเต็มใจร่วมกับชนชาติไทยคงอยู่เป็นอาณาจักรอันเดียวตลอดไป

(ปรีดี พนมยงค์, “อนาคตของประเทศไทยควรดำเนินไปในรูปใด” 2516)

คำคม-ความคิด ปรีดี พนมยงค์
… รวบรวมโดย ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์

ที่มา : (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, "ปรีดี พนมยงค์ และ 4 รัฐมนตรีอีสาน +1", 2544)

http://www.prachataiwebboard.com/webboard/id/2446

ฉันทนา ไชยชิต งานเขียนชิ้นเอกในวรรณคดีอเมริกัน : ศตวรรษที่สิบเจ็ดถึงต้นศตวรรษที่ยี่สิบ = Major works in American literature /  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522 ซึ่งมันเป็นหนังสือเก่า ที่ผมมีเก็บไว้อ่านยามว่างๆ ช่วงกลับบ้าน ผมก็กลับไปค้นดูส่วนที่แปลเรื่องฟิตสเจอรัสด์ ซึ่งสำนวนแปล มีคำว่า "เพื่อนยาก" ทำให้นึกถึงผลงาน เพื่อนยากOf Mice and Men (1937)*ของจอหน์ สไตนเบ็คเลย ครับ
ซึ่งผมเคยเรียนประวัติศาสตร์ดนตรี ในแง่สุนทรีย์ศาสตร์ของวิชาดนตรี นี่แหละมั้ง จากความทรงจำ ผมก็เคยได้ยินเรื่องราวจอหน์ เคจ แต่ว่าผมรสนิยมก็ไม่ได้ชอบฟังเพลงแจ๊ส ตั้งแต่เรียน ในคณะวิจิตรศิลป์

 คงยกเว้นให้นอร่า โจนส์ หละกัน ครับ แม้ผมไม่ได้เป็นแฟนคลับของเธอตามตลอดเวลา ก็ตาม ในปีนี้ นอร่า โจนส์ อายุ 30 ปี คือ อายุเท่าผม แต่เราเปรียบเทียบกันไม่ได้ เธอ มีผลงานเพลง ขายไปมากกกว่า 36 ล้านชุดทั่วโลก และเธอเป็นลูกสาวของราวี ชางการ์ ปรมาจารยซีตาร์ชชาวอินเดีย และคุณแม่ ซู โจนส์ คอนเสิร์ตโปรดิวเซอร์ชาวอเมริกัน อื่นๆ ดูข้อมูลมติชนสุดสัปดาห์เรื่องดนตรีโดยวารี วิไล ได้ฉบับ 27-พย-3 ธค 2552 ครับผม 
นอร่า โจนส์ ไปแสดงหนัง ซึ่งผู้กำกับคือ หว่องกาไว เจ้าพ่อโรแมนติค ออกจะแนวอินดี้ๆ นิดๆ และเขาก็ต่างจากอั้งลี้ยากจน หาเงินกำกับหนัง ต้องขายก๋วยเตี๋ยว และ ผู้กำกับหนังจางอี้โหมว เรื่องฮีโร่ ต้องขายเลือดมาทำหนัง จาง อี้โหมว เกิดที่เมืองซีอาน บิดาเป็นนายทหารในกองทัพของพรรคก๊กมินตั๋ง ภายใต้การนำของนายพลเจียง ไคเช็ก และพี่ชายเป็นทหารในกองทัพ ในสงครามกลางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2492 ซึ่งพ่ายแพ้ต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทำให้ชีวิตในวัยเด็กของเขาต้องประสบความลำบาก

ในปี พ.ศ. 2509 ช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เขาต้องออกจากโรงเรียน และไปเป็นผู้ใช้แรงงานในโรงงานปั่นฝ้าย ในช่วงนี้เขาเริ่มงานเขียนภาพ และถ่ายภาพ โดยขายเลือดของตัวเองเพื่อนำเงินมาสะสมซื้อกล้องถ่ายภาพ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%87_%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7

และผมเป็นแฟนคลับ แม้ไม่ได้พันธุ์แท้ของจวงจีฮุน blood the last vampire ยัยตัวร้าย สายพันธุ์อมตะ และผมพอนึกถึงหนัง ก็นึกถึงพี่หมอน(ผยูน "ดารา" ที่แสดงละครซิทคอมเป็นต่อ) ที่บังเอิญเจอกัน แล้วผมกับคนในร้าน ก็เล็งกันว่า ตัวจริงหรือเปล่า ฯลฯ และผู้กำกับเด็กโต๋ ที่บังเอิญเจอกัน คุยด้วยนิดหน่อย และ อ.เทพทวี ที่ชอบหนังองค์บาก ผมสานต่อเรื่องของปรัชญาภาษา ซึ่งสนทนากันหนังสือเล่มใหม่ ที่มีอาจารย์ของอ.เทพทวี พิมพ์หนังสือออกมาใหม่ว่า น่าสนใจดีครับ
ภาษาดนตรี
เรื่องย่อรักสุดท้ายเพื่อเธอ All This Love
http://hilight.kapook.com/view/40300
เพลงเสียงบ่น
เพลงตอนจบชื่อเพลง Scolded(???) ร้องโดย Lee Hyo Ri
หนังเรื่องAll This Love ซึ่งพระเอกเป็นคนแนวยากูซ่า ทวงหนี้ และนางเอก อยากเป็นนักร้อง แต่ถูกฉวยโอกาส เพราะปัญหาสุขภาพ ทั้งสองคนมาพบกันที่โรงพยาบาล ซึ่งพระเอกกลายเป็นคนดังชั่วข้ามคืน คือ เขารอดตายจากตึกถล่ม และนางเอก เข้ารพ.รักษาตัวเอง และเรื่องดำเนินปมขัดแย้งของช่วงสุดท้ายของชีวิต…
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.youtube.com/watch?v=V5w7SgUagv0
http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A8207755/A8207755.html

เรื่องการท่องเที่ยวลาวของผม มันก็ต้องเขียนเรื่องราวจบลงสิ้นสุด เหมือนการหลับในความฝันของค่ำคืนหนึ่งคืนจบลง แล้วรุ่งเช้าที่ตื่นขึ้นมายามเช้า เพียงแต่ในความฝัน จากความทรงจำของโลกประสบการณ์ ที่เราพบเจอในชีวิตประจำวันเข้ามาปรุงแต่งภายใต้ความฝันทางจิตวิทยาใน

สมองของเรา ซึ่งถ้าเราฝันถึงโลกนี้จะไม่ถึงจุดจบ แต่ว่าโลกยังอยู่ต่อไปอันงดงามนั้น มันจะต้องไม่มีสงครามอีกแล้ว ซึ่งมันเป็นตัวอย่างของเรื่องในการเปรียบเทียบเพื่อความเข้าใจต่อโลกอย่างง่ายๆ  ในการสร้างสรรค์ของผลงานเขียนดั่งความฝัน ซึ่งผมก็ไม่ได้จินตนาการเปรียบเทียบผลงานของผม กับนักเขียนเรื่องเดินทางคนอื่น เพราะว่า ผมเป็นเพียงลมพัดผ่านข้ามพรมแดนจากความรู้สึกของความเป็นเพื่อนร่วมชาติ ที่มีชุมชนจินตกรรมในความเป็นชาติไทยขึ้นมา จนข้ามพ้นเพื่อนร่วมชาติ กลายเป็นเพื่อนไร้พรมแดน เพื่อนร่วมโลก มิตรสหายร่วมจักรวาล และการระลึกถึงประสบการณ์ของอดีตกับปัจจุบันซ้อนทับอยู่ในสมองของคน จึงใช้จินตนาการย้อนอดีตในความทรงจำของคน เหมือนกับ ผมต้องการนำจินตนาการข้ามพ้นพรมแดนให้ไกลจากขีดจำกัดของความทรงจำในตัวเอง โดยผมคิดสร้างสรรค์จากความใฝ่ฝันอันงดงาม สำหรับภาษาของคำ  และการรวบรวมประโยคของเรื่องการเดินทาง ประดุจถ้อยความทั้งหมดเก็บไว้รอเปิดเรื่องราวใหม่จากนักอ่าน เหมือนกับงานเขียนที่จำเป็นต้องเปิดสมุดบันทึกทบทวนอดีตดูภาพถ่ายเก่าๆ ในสภาวะของความทรงจำให้เรื่องราวดำเนินต่อไปไม่รู้จบ

นี่คือ การเขียนถึงความรู้สึกดื่มด่ำจากการท่องเที่ยว ในชั่วขณะของความทรงจำที่ผมนั่งบนรถทัวร์ สัมผัสลมของแอร์ในรถทัวร์ ผ่านถนนมิตรภาพไทย-ลาว ซึ่งทำให้ผมรำลึกถึงการข้ามสะพานกลับมาประเทศไทย ราวกับระลึกถึงชาติภพที่แล้ว ว่าด้วยความผูกผันของผมเกี่ยวกับอาณาจักร

ล้านช้าง-ประเทศลาว
ส่วนชีวิตประจำวันของผม ซึ่งหอพัก มีแมวหลายตัวให้เลี้ยงดูเล่นๆ และก็มีป้าแมว(ชื่อเล่นจริงๆ) ออกตามหาแมว ชื่อถุง ซึ่งมันชอบพเนจรออกจากบ้านของป้าแมว และพวกเราก็เอามาเล่นกันในห้องหลายเดือนก่อน และวันที่ผ่านมา ผมไปงานCMU book fair ของมช.มา และจริงๆ แล้วการเขียนงานเรื่องท่องเที่ยวลาว  ซึ่งแตกต่างจากการเขียนเรื่องท่องเที่ยวประเทศต่างๆ เพราะมันผูกพันกับวิทยานิพนธ์ของผม กับสถาที่ก็ใช้ แนวคิดของเบน แอนเดอร์สัน ชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม ฉบับแปลไทย พอสมควรในผลงาน เลยครับ

ซึ่งก่อให้เกิดที่มาของ การสร้างภราดรภาพแห่งพี่น้อง!?!   http://www.prachatai.com/journal/2009/11/26818 

(แน่นอนว่า เครดิตดังกล่าวต้องยกย่องให้พี่ยอด ที่ช่วยDEVELOPฯส่งภาษาอังกฤษเป็นKey word ให้ผมกลับไปคิดเป็นระยะๆรวมทั้งหลายคนต่างๆร่วมแลกเปลี่ยน ประดุจEditer แน่นอนว่า มีEditerจริงๆ หลายคน ผมเปิดเผยไม่ได้จากไดอารี่ ฉะนั้น ขอขอบคุณ ทุกคนในภาวะปิดลับภายในทีมงาน ครับ) ส่วนชีวิตของผม ก็นึกถึงเพื่อนร่วมรุ่น  ในยุคสมัยจดหมาย คือ การจมอยู่กับตัวอักษรของจดหมาย จากยุคสมัยที่ผมเติบโตมาจากจดหมาย และผมก็จมกับการอ่านตัวอักษร ทั้งลายมือ จากใจเพื่อนบางคน ที่ได้พบพานกัน

จากจดหมาย ที่เป็นนวัตกรรมถึงโทรเลขในประเทศไทย

เริ่มแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2412 ทรงอนุมัติให้ชาวอังกฤษ จัดตั้งบริษัทก่อสร้างและบำรุงรักษาทางโทรเลขตามคำเสนอขอ แต่การดำเนินงานกลับล้มเหลว

เมื่อ พ.ศ. 2418 สมัยรัชกาลที่ 5 กรมกลาโหมดำเนินการสร้างทางสายโทรเลขสายแรก จากกรุงเทพมหานครไปปากน้ำ หรือจ.สมุทรปราการ ในปัจจุบัน โดยวางสายเคเบิลโทรเลขใต้น้ำต่อออกไป ถึงกระโจมไฟนอกสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยารวมระยะทาง 45 กิโลเมตร เพื่อใช้ในการส่งข่าวสารทางราชการเป็นหลัก

ในปี พ.ศ. 2421 กรมกลาโหมได้สร้างทางโทรเลขสายที่สอง จากกรุงเทพฯ ถึงพระราชวังบางปะอิน และได้ขยายสายออกไปถึงกรุงเก่า (จ.พระนครศรีอยุธยา)

ต่อมาปี พ.ศ. 2426 เริ่มสร้างทางใช้ลวดเหล็กอาบสังกะสีเป็นสายแรกของกรุงเทพฯ ผ่านปราจีนบุรี กบินทร์บุรี อรัญประเทศ ศรีโสภณ และคลองกำปงปลัก ในจ.พระตะบอง (สมัยนั้นยังเป็นของสยาม) ได้เชื่อมต่อกับสายโทรเลขอินโดจีน ไซง่อนซึ่งเป็นสายแรกที่ติดต่อกับต่างประเทศ และในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้บริการโทรเลข

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82
สยามวางสายโทรเลขก่อนที่เราจะสร้างทางรถไฟ
สถานีวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย
กิจการวิทยุจัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2469 โดย กรมไปรษณีย์โทรเลข และมีพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ทรงจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงทดลองขนาดเล็กขึ้นในวังเพื่อการค้นคว้าส่วนพระองค์ จนกระทั่ง พ.ศ. 2471 ทรงสั่งเครื่องวิทยุกระจายเสียง จากต่างประเทศเข้ามา 1 เครื่อง ขนาด 200 วัตต์ ขนาดคลื่น 36.42 เมตร ซึ่งเป็นคลื่นสั้น ทำการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียง ที่ตึกที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ปากคลองโอ่งอ่าง ถือว่าเป็นการส่งวิทยุกระจายเสียงครั้งแรกในประเทศไทย

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87

พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน หรือ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร (23 มกราคม พ.ศ. 2424 – 14 กันยายน พ.ศ. 2479) พระบิดาแห่งกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย และพระบิดาแห่งการรถไฟไทย[1]

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%99

25 กุมภาพันธ์ 2473
         สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยกำเนิดอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อมีการถ่ายทอดกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราชทางแก่ปวงชนชาวไทย เนื่องในวันฉัตรมงคลมีใจความตอนหนึ่งว่า "การวิทยุกระจายเสียงที่ได้ริเริ่มจัดตั้งขึ้น และทำการทดลองตลอดมานั้น ก็ด้วยความมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการศึกษา การค้าขาย และการบันเทิงแก่พ่อค้าประชาชน"
1 เมษายน 2482
         รัฐบาลโอนกิจการวิทยุกระจายเสียงจากกรมไปรษณีย์โทรเลข มาขึ้นกับสำนักงานโฆษณาการ

 1 มกราคม 2484
         กรมโฆษณาการ (เปลี่ยนชื่อมาจากสำนักงานโฆษณาการ) ได้เปลี่ยนชื่อเรียกสถานีวิทยุจากเดิม "สถานีวิทยุกรุงเทพฯ"หรือ Radio Bangkok เป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยหรือ Radio Thailand ย้ายที่ตั้งจากวังพญาไทไปรวมกับสถานีวิทยุทดลองของกรมไปรษณีย์โทรเลขที่ศาลาแดง ส่งกระจายเสียงคลื่นสั้น 49 เมตรควบคู่กับคลื่นยาว 363 เมตร เพิ่มกำลังส่งเป็น 10,000 วัตต์

11 กันยายน 2494
         สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ออกอากาศด้วยกำลังส่ง 10กิโลวัตต์ตั้งเครื่องส่งอยู่ที่ซอยอารี ถนนพหลโยธิน ห้องส่งอยู่กรมประชาสัมพันธ์ ถนนราชดำเนินกลาง กรุงเทพมหานคร
] 24 มิถุนายน 2496
         ออกอากาศภาคภาษาต่างประเทศด้วยเครื่องส่ง 50 กิโลวัตต์ เครื่องส่งตั้งอยู่ที่ ซอยอารี ถนนพหลโยธินห้องส่งอยู่กรมประชาสัมพันธ์ ถนนราชดำเนินกลางกรุงเทพมหานคร

ปี พ.ศ. 2499
         กรมประชาสัมพันธ์ ส่งกระจายเสียงระบบ เอฟ.เอ็ม. กำลังส่ง 250วัตต์ใช้สำหรับถ่ายทอดรายการจากห้องส่งกรมประชาสัมพันธ์ไปที่เครื่องส่งซอยอารี แทนสายโทรศัพท์ นับว่าเป็นการส่งกระจายเสียงในระบบ เอฟ.เอ็ม. เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4
ล่าสุดกลับมาพบไมค์ฯ(คอลัมภนิสต์BIOSCOPE)หลังจาก 3 ปีกว่าผ่านไป ครับ
และระหว่างการเดินทางบางครั้ง ผมก็พกหนังสือไปด้วย ทำให้เกิดค้นพบElephant of Dark Room เป็นข้อความที่ผมได้มาจากส่วนแนะนำปรัชญาอัตถิภาวะนิยม ในเรื่องNausea ทำให้ผมนึกถึงพุทธเจ้าเคยพูดถึงเรื่องตาบอด คลำช้าง น่ะครับ
ส่วนชีวิตประจำวันของผม ซึ่งหอพัก ก็พบปัญหาขโมย โดยรัฐไม่สามารถดูแลพวกเรา ตลอด 24 ชม.หรอกครับ นอกจากนั้น หอพัก ก็มีแมวหลายตัวให้เลี้ยงดูเล่นๆ และก็มีป้าแมว(ชื่อเล่นจริงๆ) ออกตามหาแมว ชื่อถุง ซึ่งมันชอบพเนจรออกจากบ้านของป้าแมว และพวกเราก็เอามาเล่นกันใน

ห้องหลายเดือนก่อน(ผมก็ไม่มีความสามารถใช้ภาษาสัตว์ของแมวได้เหมือนกับแนวคิดนักปรัชญาอย่างวิกเกนสไตน์ น่ะครับ) และวันที่ผ่านมา ผมไปงานCMU book fair ของมช.มา ก็พบผู้คนมากมาย พีอ้อย พี่อ๊อด ปุ้ย ไซอิ๋ว พี่ตู่ เจ๋ง นิ้ง แม็ก ไผ่ สำหรับพื้นที่ฝากขายหนังสือฯ และพี่พงศ์ กับการระลึกถึงพี่ศุภฤกษ์ วาดรวี ต่างๆ(ขออภัยผมมีขีดจำกัดเรื่องเวลา กับการเขียนไม่สามารถเล่าเรื่องหรือรวบรวมชื่อผู้คนทั้งหมดได้ครับ )ผมซื้อหนังสือ

ลดราคา 50บาท ก็เรื่องกระบวนทัศน์สันติวิธีของปรีดี พนมยงค์ ? : กรณีศึกษาเรื่องพระเจ้าช้างเผือก / สุรัยยา (เบ็ญโส๊ะ) สุไลมาน.  มาอ่านแล้ว
น่า สนใจเรื่องภราดรภาพ คือฉันพี่น้อง และการอยู่ร่วมกัน โดยพี่น้องช่วยเหลือกัน  และคนแบบบอยๆ boy แปลว่า เด็กผู้ชาย ลูกชาย พ่อหนุ่ม เพื่อนยาก ฯลฯ
ยุคอารยะอย่างจอมพลป.นั้น พยายามให้คนไทยสามี-ภรรยาจูบกันทุกเช้า
และผมบังเอิญได้ดูหนังเรื่องConan The Barbarian ก็สนุกดี มีอ้างถ้อยคำและประโยคของนิทเช่ ด้วย
http://en.wikipedia.org/wiki/Conan_the_Barbarian

เหมือนกับเรื่องโคแนน และผมยังไม่ได้ดูหนังเกี่ยวกับนวนิยายของพรูสต์ เรื่อง The captive http://www.imdb.com/title/tt0216605/ แต่ฤดูหนาวแล้ว ผมป่วยจากหวัดนิดๆหน่อยๆได้ดูหนังเก่าๆ ฉากในเชียงใหม่ วัยหนุ่มสาว เรื่อง "กว่าดอกรักจะบาน" [ 2531 ]
http://www.sellvcd.com/product.detail_162631_th_2131605
Title: คนมองคน
Artist: เพลงประกอบภาพยนต์ กว่า…ดอกรักจะบาน-เพลงหนังข้างถนน
..ผืนดิน ถิ่นที่นา…วัดค่าเป็นไร่…ทำนาก็ชั่งขาย….ไก่งามก็เพราะขน…
http://www.imeem.com/people/gsOy7Np/music/1xOjfZVY//
เพลงของนอร่าห์ โจนห์ สร้างจินตนาการมากๆ ครับ

 "Light As A Feather" from The Fall
(*Jones, Ryan Adams)

While the seasons will undo your soul
Time forgives us and it takes control
But separate our things to put us back together

We’re light as a feather
Heavy as the weather,
If it was raining stones

Put our hands together to (sorry, can’t make this word out)
It’s like a show was over but we’re too scared to walk away
All for the better, worse for the way
[ Norah Jones Lyrics are found on http://www.songlyrics.com ]

We’re light as a feather
Got you and I together
Meanwhile outside me, it was raining stones
You didn’t know
God bless your soul

We’re light as a feather
Heavy, as the weather
We’re light as a feather
Got you and I together

http://www.songlyrics.com/norah-jones/light-as-a-feather-lyrics/
http://www.norahjones.com/index.php

About akkaphoncyber

I love human
This entry was posted in Uncategorized. Bookmark the permalink.

Leave a comment